วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2564

สัญญานอันตราย วัย 40+ เสี่ยงเป็นโรคความจำเสื่อม

 

สัญญานอันตราย วัย 40+ เสี่ยงเป็นโรคความจำเสื่อม

สาเหตุของกลุ่มโรคสมองเสื่อมที่มีการถดถอยรวดเร็วและรุนแรง

กลุ่มโรคสมองเสื่อมที่มีการถดถอยรวดเร็วและรุนแรง เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น 

  • ติดเชื้อในสมอง เช่น เคยมีการติดเชื้อจากการกินเนื้อวัวที่เป็นโรควัวบ้าที่เคยระบาดในยุโรปโดยเฉพาะอังกฤษ จากสัตว์สู่คนและคนสู่คนได้ 
  • สมองอักเสบจากภูมิคุ้มกันทำงานไวผิดปกติ 
  • โปรตีนและสารเคมีในสมองเสื่อมถอย
  • ได้รับสารพิษ 
  • ขาดสารอาหารรุนแรง 
  • เป็นโรคเส้นเลือดสมองตีบหรือแตก และเนื้องอกสมอง
  • เป็นโรคพันธุกรรมในครอบครัว
  • สาเหตุเหล่านี้ถ้าได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จะช่วยชะลอความเสื่อมถอยด้านความจำ หรือความจำกลับมาสู่ภาวะปกติเท่ากับก่อนป่วยได้
  • อันตรายจากกลุ่มโรคสมองเสื่อมที่มีการถดถอยรวดเร็วและรุนแรง

อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ป่วยอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถรักษาได้ ส่งผลทุพพลภาพ ในระยะเวลาอันสั้น คือโรคซีเจดี ซึ่งเกิดจากการทำงานผิดปกติของโปรตีนในสมองที่เรียกว่า พรีออน (Prion) เป็นโปรตีนลักษณะพิเศษที่ทำให้โปรตีนอื่น กลายสภาพเป็นโปรตีนพรีออนผิดปกติที่เพิ่มมากขึ้นเองได้ เมื่อเข้าสู่สมองคน ในระยะเวลารวดเร็วไม่กี่เดือนเซลล์ประสาทจะตาย ทำให้ความสามารถของสมองถดถอยไม่สามารถฟื้นกลับสู่ภาวะปกติได้อีก

สัญญาณอันตราย สมองเสื่อมรุนแรงอย่างรวดเร็ว

นายแพทย์ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคซีเจดีพบได้ในทุกเพศ ช่วงอายุที่พบบ่อยประมาณ 55-75 ปี มีภาวะเสื่อมถอยด้านความคิดความจำในระยะเวลาที่รวดเร็วและรุนแรงไม่กี่เดือน โดยญาติและผู้ใกล้ชิดควรสังเกตผู้ป่วยว่ามีอาการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแบบรวดเร็ว ดังนี้

  • ความจำแย่ลง
  • ทำงานผิดพลาด 
  • เห็นภาพหลอน 
  • เอะอะโวยวาย 
  • เฉยเมย 
  • พูดและการเคลื่อนไหวช้าลง 

ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการกระตุกตามแขนขาและลำตัวแบบไม่รู้สาเหตุ 

ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ กระทั่งนอนติดเตียง และเสียชีวิตภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน หรือ 1 ปี 

วิธีรักษาอาการสมองเสื่อมรุนแรงอย่างรวดเร็ว

ด้านการรักษาแพทย์จะส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น 

ส่งตรวจ MRI 

ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง 

ตรวจเลือดหรือน้ำไขสันหลังเพื่อตรวจสารเคมีในสมอง 

อาจพิจารณาให้การรักษาด้วยยาเพื่อควบคุมอาการพฤติกรรมวุ่นวายและลดอาการเคลื่อนไหวผิดปกติ เป็นต้น 

สาระน่าเกี่ยวกับ:คนสูงอายุและโรคความจำเสื่อม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น