โรคเส้นเลือดสมองโป่งพอง อาการเป็นอย่างไร
โรคเส้นเลือดสมองโป่งพอง (Cerebral Aneurysm) คือ ความผิดปกติที่เกิดจากการบางลงของผนังหลอดเลือดสมอง ทำให้ผนังเส้นเลือดสมองโป่งพองออกคล้ายบอลลูนและแตกออกง่าย
รศ. นพ.รุ่งศักดิ์ ศิวานุวัฒน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่า โรคนี้มักเกิดขึ้นกับเส้นเลือดบริเวณฐานกะโหลกศีรษะ พบได้บ่อยในช่วงอายุ 30-60 ปี ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค ได้แก่ โรคทางพันธุกรรมบางชนิด ประวัติโรคเส้นเลือดสมองโป่งพองในครอบครัวโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษา การสูบบุหรี่ และอายุที่มากขึ้น
ประเภทของเส้นเลือดสมองโป่งพอง
เส้นเลือดสมองโป่งพองแบบยังไม่แตก
อาการ
- ส่วนมากมักจะไม่มีอาการ ยกเว้นกรณีที่หลอดเลือดสมองโป่งพองมีขนาดใหญ่ อาจเกิดการกดทับเส้นประสาทข้างเคียง เช่น มีอาการปวดร้าวบริเวณใบหน้าหนังตาตก หรือมองเห็นภาพซ้อน
- หลอดเลือดสมองโป่งพองที่มีขนาดใหญ่ อาจทำให้เลือดไหลวนอยู่กายใน เกิดลิ่มเลือดขึ้นและหลุดไปอุดตันหลอดเลือดสมองส่วนปลาย ส่งผลให้เกิดอาการสมองขาดเลือด
เส้นเลือดสมองโป่งพองแบบแตกแล้ว
อาการ
- ทำให้เกิดภาวะเลือดออกใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมอง และความดันในกะโหลกสูงขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน โดยเฉพาะบริเวณต้นคอ ก้มคอไม่ได้
- ส่วนใหญ่มีอาการคลื่นใส้ อาเจียน บางรายอาจชักหมดสติ ไม่รู้สึกตัว หรือเสียชีวิตได้ จึงจำเป็นต้องรับการรักษาโดยเร็ว
- การป้องกันเส้นเลือดสมองโป่งพอง
- รักษาภาวะความดันโลหิตสูง
- งดสูบบุหรี่
- หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัดหรือมีไขมันสูง
- และเน้นรับประทานผัก ผลไม้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น