Long COVID อาการหลากหลาย ครอบคลุมทั้งกายและใจ
Long COVID คือผลกระทบระยะยาวจากโรคโควิด-19 ที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายของผู้ป่วยโควิด-19 แม้ว่าจะพ้นการติดเชื้อไปแล้ว อาการแสดงจะมี 3 ลักษณะดังต่อไปนี้
กลับมามีอาการใหม่หรืออาการเดิมยังอยู่ (New or ongoing symptoms)
พบในผู้ป่วยที่เคยมีอาการรุนแรง ได้แก่ เป็นไข้ ปวดหัว วิงเวียน หายใจไม่อิ่ม ไอ แน่นหน้าอก อ่อนเพลีย ปวดท้อง ท้องเสีย ขาดสมาธิ นอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวน มีอาการชา ปวดกล้ามเนื้อ รับกลิ่นหรือรสได้ไม่ดี
เกิดความผิดปกติในหลายอวัยวะ (multiorgan effects)
เนื่องจากขณะที่มีการติดเชื้อ ได้เกิดกระบวนการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันทั่วร่างกาย มีการหลั่งของ cytokines ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะอักเสบในระบบอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย มิได้เฉพาะเจาะจงแค่ระบบทางเดินหายใจเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นระบบหัวใจ ระบบประสาท ระบบฮอร์โมน ระบบย่อยอาหาร รฤฤ๐ฟฟะบบกล้ามเนื้อและกระดูก เป็นต้น
ผลกระทบระยะยาวจากการนอนโรงพยาบาล
ผู้ป่วยที่ต้องนอนพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลนานๆ จะไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวตัว ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อฝ่อลีบ แขนขาไม่ค่อยมีแรง การรับรู้ความรู้สึกของข้อและการทรงตัวแย่ลง นอกจากนี้การนอนโรงพยาบาลนานจะเกิดผลกระทบต่อจิตใจ เช่น รู้สึกเบื่อหน่าย หดหู่ รู้สึกเหนื่อยล้า ไม่สดชื่นแจ่มใส ผู้ป่วยบางรายที่เคยได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ อาจเข้าสู่ภาวะผิดปกติทางจิตใจหลังจากประสบเหตุการณ์รุนแรงได้ (post-traumatic stress disorder; PTSD)
Long COVID จะเป็นไปอีกนานแค่ไหน
นอกจากจะรบกวนทั้งกายและใจแล้ว อาการ Long COVID ยังถือว่ากินเวลา “Long” สมชื่อ จากผลการวิจัยของโครงการศึกษาระดับนานาชาติพบว่า ผู้ป่วยจำนวน 3,762 คนจาก 56 ประเทศ มีอาการจาก Long-COVID รวม 203 อาการ โดยจะมี 1 ใน 3 อาการที่เกิดขึ้นยาวนานอย่างน้อย 6 เดือน ทั้งนี้ในผู้ป่วยที่เป็นเด็กบางราย ผลกระทบยังคงอยู่ต่อเนื่องเป็นปี
ติดตามสาระน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเคิมได้ที่>>> https://saruknaruu.blogspot.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น