วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2564

ประโยชน์ของเมี่ยงคำและข้อควรระวังในการรับประทานเมี่ยงคำ

ประโยชน์ของเมี่ยงคำและข้อควรระวังในการรับประทานเมี่ยงคำ

นพ.มรุต จิรเศรษฐสิริ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ระบุส่วนประกอบและประโยชน์ของเมี่ยงคำเอาไว้ ดังนี้

1.มะพร้าวคั่ว บำรุงไขข้อ กระดูก

2.ถั่วลิสงคั่ว จัดเป็นสมุนไพรรสมัน ช่วยบำรุงเส้นเอ็น มีโปรตีน

3.กุ้งแห้ง บำรุงผิวหนัง มีโปรตีนและแคลเซียม

4.ใบชะพลู ขิง หัวหอม พริก รสเผ็ดร้อน ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนได้สะดวก ป้องกันอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร แก้คลื่นไส้อาเจียน เสริมธาตุลมและธาตุไฟ ลดน้ำตาลในเลือด

5.มะนาวทั้งเปลือก มีรสเปรี้ยวขม ช่วยขับเสมหะ บรรเทาอาการไอ ช่วยให้ชุ่มคอ เสริมธาตุน้ำในร่างกาย

6.หอมแดง แก้หวัด

7.น้ำจิ้ม มีรสหวาน รสเค็ม ช่วยบำรุงธาตุดิน บำรุงกำลัง

ข้อควรระวังในการรับประทานเมี่ยงคำ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศรี เจริญเกียรติกุล อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เชี่ยวชาญด้านคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย ให้ข้อมูลจากผลการวิเคราะห์ว่า

ในเมี่ยงคำหนึ่งหน่วยบริโภค (5 คำ) ประกอบไปด้วย โปรตีน 5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 20 กรัม (7 % ของปริมาณแนะนำต่อวัน) ไขมัน 10 กรัม (15 % ของปริมาณแนะนำต่อวัน) นอกจากนี้ยังมีวิตามินซี วิตามินเอ โซเดียม แคลเซี่ยม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม ทองแดง สังกะสี โปแตสเซียม รวมทั้งใยอาหารที่มีประโยชน์ต่อระบบขับถ่าย

เมี่ยงคำ 5 คำใน 1 มื้อ คือ ปริมาณพอดีที่นักโภชนาการแนะนำ ซึ่งจะได้พลังงาน 200 กิโลแคลอรี่ เท่ากับ 10% ของความต้องการพลังงานของคนเราในหนึ่งวัน

นอกจากนี้สมุนไพร ได้แก่ ขิง หอมแดง ยังมีสรรพคุณในการขับลมในกระเพาะได้อีกด้วย เมี่ยงคำจึงเป็นอาหารว่างที่ดีต่อสุขภาพ ยิ่งอากาศเย็นๆรู้สึกมีน้ำมูก คัดจมูกอย่างนี้ยิ่งดี

ใครที่กินเมี่ยงคำเกินมื้อละ 5 คำ จึงควรระวังพลังงานที่ได้มากเกินไป ทั้งนี้ควรกินขิง หอมแดง มะนาว ให้ครบ ถึงจะได้ประโยชน์ที่สุด

ติดตามสาระน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเคิมได้ที่>>> https://saruknaruu.blogspot.com/

อันตรายจากปลากระป๋อง กินปลากระป๋องอย่างไรให้ได้ประโยชน์

อันตรายจากปลากระป๋อง กินปลากระป๋องอย่างไรให้ได้ประโยชน์

แม้ว่าปลากระป๋องจะมีสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพไม่ใช่น้อย แต่พบว่าการปรุงรสในปลากระป๋องทำให้มีปริมาณโซเดียมสูง โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่าปลากระป๋องขนาด 85 กรัม 1 กระป๋อง มีโซเดียมสูงถึง 300 มิลลิกรัม หรือคิดเป็น 1 ใน 7 ของปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน ถ้ากินมากเกินไปนี่ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงโรคไตและโรคเรื้อรังหลายอย่าง

นอกจากนี้ยังอาจมีอันตรายจาก “ฮีสทามีน” ที่เกิดขึ้นจากแบคทีเรียย่อยกรดอะมิโนในตัวปลา ระหว่างการขนส่งและจัดเก็บปลาทะเล ซึ่งบางครั้งความเย็นอาจไม่มากพอ โดยพบบ่อยในปลาทูน่า ปลาโอแถบ ปลาซาร์ดีน และปลาแมคเคอเรล ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของปลากระป๋อง

วิไลลักษณ์ ศรีสุระ นักโภชนาการชำนาญพิเศษ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย ระบุว่า การรับประทานเนื้อปลาที่มีปริมาณฮีสทามีนสูงกว่า 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ทำให้เกิดผลกระทบกับสุขภาพได้ โดยเฉพาะกับผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเสี่ยง

"คนที่ควรระวัง คือ คนที่แพ้อาการทะเล ผู้สูงอายุ และเด็ก ซึ่งวัยนี้ไม่มีความจำเป็นที่ต้องกินปลากระป๋อง รวมทั้งคนที่เป็นภูมิแพ้อาหารทะเลบางอย่างก็ต้องระวัง ส่วนอาการแพ้ก็ขึ้นอยู่กับการบริโภคมากๆ มีทั้งผื่นขึ้น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ถ่ายท้องร่วมด้วย"

กินปลากระป๋องอย่างไรให้ได้ประโยชน์ และปลอดภัย

1.ไม่กินมากหรือบ่อยครั้งจนเกินไป ควรเลือกเป็นโปรตีนในยามที่จำเป็น โดยไม่ควรรับประทานเกิน 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์

2.ไม่เลือกกินปลาชนิดเดียวกันซ้ำๆ ควรเปลี่ยนชนิดของปลาบ้าง

3.ไม่ปรุงรสเค็มเพิ่มมากจนเกินไป หรือไม่ต้องปรุงเค็มเพิ่ม เพราะมีปริมาณโซเดียมค่อนข้างสูงอยู่แล้ว

4.เพิ่มผักอื่นๆ เพื่อเพิ่มคุณค่าทางสารอาหารในการปรุงเพิ่มได้

5.เลือกกระป๋องของปลากระป๋องที่มีสภาพสมบูรณ์ ไม่บุบ เบี้ยว ไม่มีรูรั่ว หรือมีสนิมขึ้น และสังเกตวันหมดอายุก่อนรับประทาน

6.หากรู้สึกว่ารสชาติ สี กลิ่น ไม่เหมือนปกติ ไม่ควรรับประทาน

ติดตามสาระน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่>>> https://saruknaruu.blogspot.com/

วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2564

Eye Floaters คืออะไรสาเหตุเกิดจากอะไร

 Eye Floaters คืออะไรสาเหตุเกิดจากอะไร

สาเหตุของ Eye Floaters

Eye Floaters หรือ วุ้นในตาเสื่อม เป็นอาการที่เราจะเห็นเงาดำๆ หรือจุดเล็กๆ เส้นวงๆ ลอยไปมาบริเวณลูกตาทั้ง 2 ข้าง เมื่อมองในพื้นที่สว่างๆ อย่างการมองท้องฟ้าในตอนกลางวัน มองแผ่นกระดาษหรืออะไรที่เป็นสีขาวๆ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ

โดยสิ่งที่เราเห็นตอนมีอาการวุ้นในตาเสื่อมนั้นก็คือ เศษเนื้อตาย (Debris) ของน้ำวุ้นในตาที่เสื่อมลงจนจับตัวเป็นก้อนหรือสานกันเป็นเส้นหลุดลอกออกจากวุ้นตา โดยเมื่ออณูเศษเนื้อตายเหล่านี้กระทบเข้ากับแสงก็จะเกิดเป็นเงาทอดไปยังจอตา กลายเป็นรูปเงาดำๆ อย่างที่เราเห็นกัน นอกจากจะเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งในกลุ่มผู้สูงอายุแล้ว ในปัจจุบันก็พบคนวัยทำงานมีอาการบ่อยมากขึ้นเช่นกันจากการใช้สายตาที่มากเกินจำเป็น ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของ วุ้นในตาเสื่อม ในคนวัยทำงานเกิดจาก

  • การเพ่งตัวอักษรบนหน้าจอโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ มือถือ นานเกินไปทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานหนัก
  • การมองสลับไปมาระหว่างหน้าจอและแป้นพิมพ์ รวมไปถึงการไถหน้าจอบนโทรศัพท์ทำให้สายตาปรับโฟกัสบ่อยเกินไป

Eye Floaters อันตรายหรือไม่?

โดยปกติแล้ว Eye floaters ยังไม่มีการค้นพบถึงอันตรายจากอาการดังกล่าวนอกจากจะสร้างความรำคาญตอนเงยหน้าดูก้อนเมฆหรือขับรถเท่านั้น เพียงแค่รอสักพักร่างกายก็จะค่อยๆ ปรับตัวให้มองเห็นได้น้อยลงนั่นเอง จึงยังไม่มีการรักษาใดๆ แม้ชื่ออาการจะดูน่าวิตกก็ตาม แต่ถ้าเป็นบ่อยขึ้นและเห็นเป็นแสงวูบวาบเพิ่มเข้ามาด้วยควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์ เพราะอาจเป็นการเตือนถึงอาการจอประสาทตาฉีกขาด จะได้รักษาทันอย่างท่วงที

ติดตามสาระน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่>>> https://saruknaruu.blogspot.com/


โปรตีนทางเลือกและแหล่งที่มาของการสร้างโปรตีนทดแทนคืออะไรบ้าง


โปรตีนทางเลือกและแหล่งที่มาของการสร้างโปรตีนทดแทนคืออะไรบ้าง

ในปัจจุบัน มีแหล่งอาหารที่สามารถสร้างโปรตีนทดแทนได้จากหลายแหล่ง เช่น

โปรตีนจากพืช (Plant-based Protein) เป็นที่นิยมที่สุดในบรรดาโปรตีนทางเลือก เป็นการนำพืชโปรตีนสูง เช่น ถั่วเหลือง เห็ด ข้าวสาลีและธัญพืชต่างๆ มาแปรรูปด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ผลิตให้ออกมามีลักษณะคล้ายกับเนื้อสัตว์มากที่สุด คือ มีเส้นใย มีกล้ามเนื้อ มีชั้นไขมันแทรกในชิ้นเนื้อ บางเทคโนโลยีมีการแต่งกลิ่นเลียนแบบเนื้อสัตว์เข้าไปด้วย ทำให้มีเนื้อสัมผัสและความชุ่มลิ้นคล้ายกับการกินเนื้อสัตว์จริงๆ

ถึงอย่างนั้น หากต้องการได้ประโยชน์สูงสุดจากโปรตีนจากพืช แนะนำให้กินแบบที่ผ่านกระบวนการผลิตน้อยที่สุดจะดีกว่า เช่น ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี (ข้าวกล้อง ลูกเดือย) เน้นการกินพืชมีหัว (มันเทศ มันฝรั่ง เผือก) ผักสามารถกินได้ทุกชนิด แต่ควรเลือกให้หลากหลาย เพื่อให้ได้ทั้งวิตามินและแร่ธาตุ ส่วนผลไม้หลีกเลี่ยงที่มีรสชาติหวานหรือมีน้ำตาลสูง แต่โปรตีนจากพืชที่ผ่านกระบวนการผลิตให้เหมือนเนื้อสัตว์ก็ไม่ได้แย่ เพราะทำให้ง่ายต่อการกินสำหรับคนที่ไม่ค่อยชอบกินพืชผัก เพียงแต่ประโยชน์อาจจะถูกลดทอนหรือมีสารปรุงแต่งเข้ามาเพิ่มเติม

โปรตีนจากสาหร่าย (Algae-based Protein) สาหร่ายเป็นหนึ่งในแหล่งโปรตีนทดแทนที่ให้ปริมาณโปรตีนสูงสาหร่ายที่นิยมนำมาผลิตเป็นเนื้อสัตว์เทียม เช่น สาหร่ายทะเล แพลงตอนพืช สามารถนำมาเป็นส่วนผสมในการผลิตเนื้อเทียม นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญ จึงมีการนำสาหร่ายมาสกัดเพื่อเป็นอาหารเสริมอื่นๆ ที่มีอยู่ในตลาดอาหารเพื่อสุขภาพมานานแล้ว

โปรตีนจากแมลง (Insect-based Protein) เป็นโปรตีนทดแทนที่สกัดมาจากแมลงที่มีโปรตีนสูง เช่น ตั๊กแตน ตัวอ่อนด้วง จิ้งหรีด แมลงหลายชนิดมีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะโปรตีนจากแมลงมีปริมาณโปรตีนสูงมาก (อาจสูงกว่าโปรตีนจากสัตว์บางชนิดด้วยซ้ำ) หากนำแมลงมาแปรรูปให้อยู่ในรูปของโปรตีนผง โปรตีนผงปริมาณ 100 กรัม จะให้โปรตีนสูงถึง 70-80 กรัม ในขณะที่เนื้อสัตว์ อาจให้โปรตีนที่ 30-40 กรัมเท่านั้น นอกจากนี้ผงโปรตีนแปรรูปจากแมลงยังอาจมีสารอาหารอื่นๆ

โปรตีนจากเชื้อราหรือจุลินทรีย์ที่เกิดตามธรรมชาติ เรียกว่า มัยคอโปรตีน (Mycoprotein) พอเอ่ยถึงเชื้อราหรือจุลินทรีย์อาจทำให้หลายคนร้องยี้ ถึงอย่างนั้นต้องไม่ลืมว่าโยเกิร์ตหรือชีสที่เรากินกันอย่างเอร็ดอร่อยนั้นก็ได้จากการหมักบ่มลักษณะนี้เช่นกัน โดยโปรตีนชนิดนี้จะได้จากการการหมักบ่มจุลินทรีย์เกรดอาหารซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่กินได้ จากนั้นนำไปผ่านกระบวนการเพาะเลี้ยงให้ได้เส้นใยที่คล้ายกล้ามเนื้อของสัตว์ ก่อนจะนำมาขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อทั้งแบบเนื้อบดและเนื้อชิ้น เมื่อออกมาจะได้มัยคอโปรตีนที่เหมือนกับเนื้อสัตว์จริงๆ มากทีเดียว

เนื้อที่ถูกพัฒนาขึ้นจากเซลล์ของสัตว์ (Lab-grown หรือ Cultured meat) เนื้อเทียมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเพาะเซลล์ให้โตจากห้องปฏิบัติการ เป็นเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้นในการผลิตเนื้อสัตว์เทียมให้เหมือนกับเนื้อสัตว์จริงมากขึ้นไปอีก โดยมันเป็นเนื้อที่ถูกพัฒนาขึ้นจากเซลล์ของสัตว์จริงๆ จึงได้เป็นเนื้อที่มีไขมัน กล้ามเนื้อ และเนื้อแดงของสัตว์ ความต่างคือไม่ได้มาจากการเลี้ยงและฆ่าสัตว์ด้วยวิธีเดิม ซึ่งเนื้อเทียมรูปแบบนี้ต้นทุนการผลิตยังสูงมากในปัจจุบัน

ตลาดโปรตีนทางเลือก เป็นที่นิยมมากแค่ไหน

จากความนิยมโปรตีนทางเลือกที่เพิ่มขึ้น ทำให้ตลาดโปรตีนทางเลือกเป็นที่นิยมมากขึ้น และเริ่มมีการแข่งขันกันคึกคักด้วย โดย ศูนย์วิจัยกสิกร ประเมินว่าในปี 2021 นี้ ตลาดโปรตีนทางเลือกในไทยที่มาจากนวัตกรรมอาหารใหม่ น่าจะมีมูลค่าประมาณ 4,500 ล้านบาท และยังมีแนวโน้มว่าจะขยายตัวเฉลี่ย 8 เปอร์เซ็นต์ต่อปีใน 3 ปีข้างหน้า

ขณะที่ KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ก็ประเมินว่าขนาดของตลาดโปรตีนทางเลือก จะเติบโตขึ้นเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของการบริโภคโปรตีนทั้งหมดในตลาดโลก ภายในปี 2050 ซึ่งคิดเป็นโอกาสทางธุรกิจมูลค่าสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับอุตสาหกรรมโปรตีนรูปแบบใหม่นี้

เพราะแรงขับเคลื่อนหลักๆ ที่ทำให้ตลาดโปรตีนทางเลือกเติบโตขึ้นมากในหมู่ผู้บริโภคทั่วโลก ก็มาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ตื่นตัวกับกระแสรักสุขภาพ โดยเฉพาะคนวัยหนุ่มสาว วัยทำงาน วัยผู้ใหญ่ ที่กังวลต่ออันตรายจากการบริโภคเนื้อสัตว์ เช่น การปนเปื้อน รวมถึงโรคในสัตว์ การรักษาหุ่น และปัญหาการบริโภคเนื้อสัตว์ จึงต้องเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การตระหนักถึงการบริโภคที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การทารุณกรรมสัตว์ รวมถึงความกังวลต่อปัญหาความมั่นคงทางอาหารเนื่องจากจำนวนประชากรโลกสูงขึ้น

อรรถรสในการกินอาจไม่เหมือนแต่ถ้าไม่ซีเรียสก็ไม่แย่

ปัจจุบันอาหารที่เป็นโปรตีนทางเลือกถูกพัฒนาให้ดูน่ากินมากยิ่งขึ้น โดยมักจะมาในรูปแบบที่มีความใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์จริงๆ มากที่สุด สามารถนำไปประกอบอาหารได้แบบเดียวกับเนื้อสัตว์และได้โปรตีนไม่ต่างกัน ทั้งนี้ทั้งนั้น หลายคนก็คิดว่ามันแทนกันไม่ได้อยู่ดี การกินเนื้อสัตว์ปลอมที่ทำจากพืชไม่อาจทำให้การกินเนื้อหมู เนื้อไก่เหมือนการกินเนื้อสัตว์จริงๆ ถึงจะพัฒนาให้เหมือนมาก มันก็ไม่ใช่อยู่ดี และก็แยกออกด้วยว่าไม่ใช่เนื้อสัตว์จริงๆ

อย่างไรก็ดี เรื่องของโปรตีนทางเลือกนี้ มันก็เป็นแค่ “ทางเลือก” หนึ่งของคนที่ต้องการจะลด ละ เลิกเนื้อสัตว์ เพียงแต่อยากให้คงสภาพคล้ายเนื้อสัตว์ไว้ เพราะมันคงยากกว่าถ้าให้หันไปกินโปรตีนจากพืชโดยตรงทันที เพราะฉะนั้น หากใครไม่สะดวกใจ หรือคิดว่าอย่างไรการกินพืชที่ทำเลียนแบบเนื้อสัตว์ก็ไม่ใช่อยู่ดี หรือลองแล้วรู้สึกไม่ชอบก็ไม่ว่ากัน แน่นอนว่ามันคงไม่ได้ถูกปากทุกคน ใครที่อยากกินเนื้อสัตว์จริงๆ ก็ยังหากินได้ มันไม่ได้ถูกแทนที่ไปหมดแล้ว

ติดตามสาระน่ารู้เกี่ยวกับสุภาพเพิ่มเติมได้ที่>>> https://saruknaruu.blogspot.com/

อาหารที่ไม่ควรรับประทานมากเกินไปในมื้อเย็น-ก่อนนอน อาจทำให้นอนไม่หลับ

อาหารที่ไม่ควรรับประทานมากเกินไปในมื้อเย็น-ก่อนนอน อาจทำให้นอนไม่หลับ

1.ช็อคโกแลต

หลายคนลืมไปว่าช็อคโกแลตก็มีคาเฟอีน เหมือนที่อยู่ในกาแฟ และชา ถ้ากินมากเกินไป ก็อาจส่งผลให้นอนไม่หลับได้เหมือนกัน

2.พริก

เชื่อหรือไม่ว่า สารแคปเซซินในพริก ส่งผลให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น อาจทำให้รู้สึกกระสับกระส่าย และหลับไม่สบายได้

3.น้ำผลไม้

อาจจะแปลกใจอยู่สักหน่อยว่าทำไมถึงห้ามดื่มน้ำผลไม้ในมื้อเย็น หรือก่อนนอน เป็นเพราะน้ำผลไม้ โดยเฉพาะน้ำผลไม้ที่มีรสชาติเปรี้ยว อาจส่งผลให้คนที่มีความเสี่ยงโรคกรดไหลย้อนมีอาการกำเริบขึ้นมาในตอนกลางคืนได้นั่นเอง

4.ชีส

เหตุผลที่ชีสอาจทำให้คุณนอนไม่หลับได้ เพราะชีสบางประเภทมีกรดอะมิโนไทรามีนสูง ส่งผลให้สมองตื่นตัวนั่นเอง ถ้าอยากนอนหลับให้สบาย ควรปล่อยให้สมองได้ผ่อนคลายจะดีกว่า

5.กระเทียม หอมใหญ่

กระเทียม และหอมใหญ่ เป็นผักที่เพิ่มลมในท้อง อาจส่งผลให้ท้องอืดจนนอนไม่หลับได้

6.สุรา

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้ดื่มแล้วทำให้หลับสบายอย่างที่ใครหลายคนเข้าใจกัน ส่วนใหญ่แล้วฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะทำให้คุณหลับอย่างไม่มีประสิทธิภาพ นอนหลับไม่สนิท นอนหลับแต่ไม่รู้สึกถึงการพักผ่อนอย่างเต็มที่ เพราะจริงๆ แล้วเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะเข้าไปรบกวนระบบวงจรการนอนหลับตามธรรมชาติ ซึ่งส่งผลให้นอนหลับได้ไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็นนั่นเอง

ติดตามข่าวสารสาระน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่>>> https://saruknaruu.blogspot.com/

ภาวะแทรกซ้อนของเดอร์มอยด์ซีสต์ควรรู้

ภาวะแทรกซ้อนของเดอร์มอยด์ซีสต์ควรรู้ 

บิดขั้ว (Torsion)

เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุด

อาการ : ปวดบริเวณท้องน้อย และรู้สึกเจ็บเมื่อกดบริเวณท้องน้อย และอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนหรืออาจมีไข้ต่ำ ๆ ร่วมด้วย

ติดเชื้อ (Infection)

เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ไม่บ่อย แต่ทำให้เกิดอาการรุนแรงได้

อาการ : ไข้สูง ร่วมกับการปวดท้องน้อยที่รุนแรง

แตกหรือรั่ว (Rupture or Leakage)

เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้กับโรคถุงน้ำรังไข่ทุกชนิด

อาการ : ปวดท้องน้อยฉับพลัน และปวดตลอดเวลา

การรักษาเดอร์มอยด์ซีสต์ (Dermoid Cyst)

เดอร์มอยด์ชีสต์ ไม่สามารถรักษาให้เล็กลงด้วยยาหรือฮอร์โมนจึงควรปรึกษาแพทย์เนื่องจากต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

คำแนะนำจากแพทย์

เดอร์มอยด์ซีสต์ เป็นโรคถุงน้ำรังไข่ชนิดหนึ่ง ไม่ใช่โรคจากการถูกทำไสยศาสตร์ตามที่เข้าใจกัน หากผู้ป่วยมีอาการ เช่น ปวดท้องน้อยฉับพลัน หรือรุนแรง ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที

ติดตามข่าวสารสาระน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่>>> https://saruknaruu.blogspot.com/

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2564

5 วิธีลดความเครียดในระหว่างการทำงาน

5 วิธีลดความเครียดในระหว่างการทำงาน

1.วางแผนบริหารงานและเวลาก่อนเริ่มงานทุกวัน

ก่อนจะเริ่มนั่งทำงานทุกเช้า ลองสละเวลามาวางแผนชีวิตทำงาน 8 ชั่วโมงของวันนี้สัก 10 นาทีดูสิ (หรือจะมี to do list สิ่งที่ต้องทำในแต่ละวันก็จะดีมาก) หลักการก็คือจัดระเบียบชีวิตและความคิดของตัวเองก่อนที่จะเริ่มต้นทำงาน มันจะทำให้รู้ว่าวันนี้ต้องทำอะไรบ้าง อันนี้เสร็จแล้วจะทำอะไรต่อ เมื่อไรที่ต้องพัก และเลิกงานเมื่อไร คนทำงานเป็นเขาจะบริหารจัดการทั้งงานและเวลาอย่างชาญฉลาด แบบที่ได้ทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล นั่นทำให้เขาไม่จำเป็นต้องทำงานหนักชนิดหามรุ่งหามค่ำ แบบที่ต้องแลกมาด้วยสุขภาพกาย สุขภาพจิต และชีวิตส่วนตัวที่หายไป

2.ขยับร่างกายบ่อยๆ

รู้สึกเครียดมาก คิดอะไรไม่ออก ให้เปลี่ยนอิริยาบถ ไปเคลื่อนไหวร่างกายให้กระปรี้กระเปร่าและสดชื่น คือแค่ลุกออกจากโต๊ะทำงานไปยืดเส้นยืดสาย แกว่งขาแกว่งแขน เดินขึ้นลงบันไดสัก 2-3 รอบ ถ้าทำงานอยู่บ้านก็ลุกไปเล่นกับสัตว์เลี้ยงก็ได้ ก็ช่วยกระตุ้นให้ฮอร์โมนแห่งความสุขได้ทำงานบ้างแล้ว เราก็จะผ่อนคลายความเครียดลง หลุดโฟกัสเรื่องเครียดๆ ไปด้วยในช่วงเวลาสั้นๆ แต่ถ้าใครเล็งเห็นผลระยะยาว ขอแนะนำนอกเหนือไปจากการขยับร่างกายบ่อยๆ ระหว่างวัน เป็นการออกกำลังกายอย่างจริงจังหลังเลิกงาน ไม่นานจะได้เห็นผลลัพธ์ที่ดีด้านสุขภาพจิตแน่นอน

3.ทำสมาธิ

เมื่อใดก็ตามที่เริ่มรู้สึกว่าตัวเองรับมือกับความเครียด ความกดดันตรงหน้าไม่ได้ เหมือนมีก้อนอะไรหนักๆ มากดทับ จนรับรู้ได้ว่าตัวเองอาจจะกำลังสติแตกในไม่ช้า อย่าฝืนตัวเอง เพราะการจมอยู่กับความเครียด ที่อะไรๆ ก็ตึงไปหมดทุกด้าน ยิ่งทำให้เราไม่อยากทำอะไรอย่างอื่นเลย วิธีที่ดีที่สุดคือต้องจัดการกับความหนักความหน่วงนี้ก่อน ด้วยการตั้งสติหรือทำสมาธิ ขอเวลาสั้นๆ เพียงแค่ 5 นาที ก็เพียงพอแล้ว และการทำสมาธิที่ว่าก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องนั่งสวดมนต์ ประนมมือ ขัดสมาธิมือขวาทับมือซ้ายแบบนั้นสักหน่อย! มีรูปแบบการทำสมาธิแบบอื่นๆ  อีกมากมาย

4.ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม อ่านหนังสือในช่วงพัก

ถึงเวลาพักก็ต้องพัก เพราะเวลาที่เราใช้ในการทำงานยาวๆ ติดกันนานๆ น่ะ ถูกออกแบบมาแล้วว่ามันดันทุรังหรือฝืนสมรรถภาพของร่างกายได้เต็มที่เท่านี้ ถ้ายังฝืนทำงานต่อทั้งที่ร่างกายปฏิเสธที่จะทำแล้ว มันยิ่งทำให้เราเข้าสู่โหมดกดดันตัวเองแล้วก็เครียดมากกว่าเดิม เพราะฉะนั้น เวลาพักก็อย่ามัวโอ้เอ้ รีบกินข้าวกินปลา มีเวลาเหลือก็นั่งดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม หรืออ่านหนังสือที่ชอบ สนุกกับอะไรก็ทำไปเลยเอาให้เต็มที่ พาตัวเองออกมาจากงานตรงหน้าให้ได้ช่วงเวลาพักก็ทำตามใจตัวเองบ้าง รักงานได้ แต่อย่าลืมรักตัวเองด้วย เครียดมากๆ ไม่ดีต่อสุขภาพนะ

5.งีบหลับ

คนไทยอาจจะไม่คุ้นชินกับการงีบหลับช่วงสั้นๆ ระหว่างวัน เมื่อรู้สึกว่ากำลังจะหมดพลังชีวิตในการทำงาน เพราะฉะนั้น ถ้าเผลอทำอาจทำให้คนอื่นเข้าใจผิดว่าเราขี้เกียจหรือแอบอู้งาน แต่ในต่างประเทศเขาทำกันเป็นวัฒนธรรมเลยทีเดียว นี่จึงไม่ใช่เรื่องที่ทำเล่นๆ มีงานวิจัยที่ศึกษาว่าการงีบในตอนกลางวันนั้นช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน แถมยังช่วยให้มีความสุขและอายุยืนขึ้นอีกด้วย เรื่องของเรื่องคือมันเราอาจจะรู้สึกง่วงหลังมื้อกลางวัน ฉะนั้น ถ้าง่วงก็นอนเถอะ แค่ 10-20 นาทีก็เพียงพอแล้ว ส่วนช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการงีบกลางวัน คือระหว่าง 12.00-15.00 น.

ติดตามสาระน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่>>> https://saruknaruu.blogspot.com/

5 เทคนิคดื่มน้ำเพื่อสุขภาพและช่วย ลดน้ำหนัก ดีต่อสุขภาพ

5 เทคนิคดื่มน้ำเพื่อสุขภาพและช่วย ลดน้ำหนัก ดีต่อสุขภาพ

น้ำจะทำให้ร่างกายเผาผลาญแคลอรีมากขึ้น เนื่องจากน้ำทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลง ร่างกายจึงต้องเผาผลาญพลังงานเพิ่มขึ้น เพื่อให้เกิดสมดุลความร้อน ส่งผลให้อาหารและพลังงานถูกเผาผลาญตามไปด้วย และยังช่วยลดปริมาณไขมันส่วนเกินด้วย

การดื่มน้ำเปล่าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการดื่มน้ำก่อนมื้ออาหารจะช่วยลดความอยากอาหารได้ ทำให้แคลอรีที่ได้รับจากอาหารลดลงและลดความเสี่ยงในการมีน้ำหนักเพิ่ม เมื่อดื่มน้ำเปล่ามากขึ้น ทำให้ลดโอกาสการดื่มน้ำหวาน หรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง ส่งผลให้ร่างกายได้รับพลังงานน้อยลง จึงควบคุมน้ำหนักได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้การดื่มน้ำเปล่าที่เพียงพอจะช่วยเรื่องสุขภาพของผิวพรรณด้วย ดังนั้นการดื่มน้ำให้เพียงพอ จึงนับเป็นปัจจัยสำคัญต่อร่างกายและช่วยชะลอความอ่อนเยาว์ได้อีกด้วย

สำหรับเทคนิคการดื่มน้ำช่วยลดน้ำหนัก สามารถปฏิบัติได้ในช่วงเวลา ดังนี้

1. ดื่มน้ำ 1 แก้ว หลังตื่นนอน ในเวลา 06.00 – 07.00 น. เพื่อช่วยลดภาวะขาดน้ำจากการนอนหลับ อีกทั้งช่วยลดความข้นหนืดของเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี และกระตุ้นการขับถ่ายได้อีกด้วย
2. ดื่มน้ำ 1 แก้ว ช่วงเช้า ในเวลา 08.00 – 09.00 น. โดยดื่มน้ำก่อนมื้อเช้า 15-20 นาที แล้วค่อยกินมื้อเช้าเพราะถ้ากินอาหารตามทันที น้ำที่ไปเจือจางน้ำย่อย จะส่งผลให้การย่อยอาหารไม่ดี และหลังอาหารให้จิบน้ำเพียงครึ่งแก้วพอ
3. ดื่มน้ำ 2 – 3 แก้ว ในช่วงเวลาระหว่างวัน เวลา 09.00 – 13.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาทำงาน ให้ดื่มน้ำระหว่างวันไปเรื่อย ๆ เพื่อลดการสูญเสียน้ำในระหว่างวัน นอกจากนี้ น้ำยังช่วยขับของเสียออกจากร่างกายอีกด้วย 
4. ดื่มน้ำ 2 แก้ว ช่วงบ่ายและเย็น เวลา 13.00 – 17.00 น. พยายามดื่มน้ำเปล่าในปริมาณ 2-3 แก้ว จะช่วยแก้กระหาย และทำให้ผิวพรรณชุ่มชื้น
5. ดื่มน้ำ 2 – 3 แก้ว ช่วงเย็นและก่อนนอน เวลา 18.00 – 22.00 น การดื่มน้ำช่วงเย็น ให้ดื่มก่อนและหลังกินมื้อเย็น และแบ่งบางส่วนไปดื่มช่วงก่อนนอน เพื่อช่วยชะล้างสิ่งตกค้างในลำไส้ และป้องกันร่างกายขาดน้ำขณะนอนหลับ

ติดตามสาระน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่>>> https://saruknaruu.blogspot.com/

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2564

8 ท่าบริหารร่างกายป้องกัน “หลอดเลือดดำอุดตัน”

 

8 ท่าบริหารร่างกายป้องกัน “หลอดเลือดดำอุดตัน

การออกกำลังกายและบริหารกล้ามเนื้อจึงเป็นสิ่งที่ป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดดำอุดตันได้ดีที่สุด และ 8 ท่าออกกำลังกายห่างไกล DVT เป็นท่าที่สามารถทำเองที่บ้านได้ง่ายๆ  ด้วยตัวเอง  

ท่าที่ 1 หมุนข้อเท้า ยกเท้าทั้งสองข้างขึ้นจากพื้นเล็กน้อย หมุนข้อเท้าเป็นวงกลมให้ปลายเท้าหมุนเข้าหากัน ทำอย่างช้าๆ  10 ครั้ง จากนั้นหมุนข้อเท้าเป็นวงกลมให้ปลายเท้าหมุนออกจากกัน ทำอย่างช้าๆ  10 ครั้ง 

ท่าที่ 2 เขย่งเท้า วางเท้าทั้งสองข้างไว้กับพื้น กระดกปลายเท้าขึ้นโดยให้ส้นเท้าอยู่กับพื้น ค้างไว้ 5 วินาที จากนั้นกระดกปลายเท้าลงนิ้วเท้าให้แตะพื้น ยกส้นเท้าสูงขึ้น ค้างไว้ 5 วินาที ทำแบบเดียวกัน 10 ครั้ง 

ท่าที่ 3 ยกเข่า วางเท้าทั้งสองข้างไว้กับพื้น ยกเข่าข้างหนึ่งขึ้นเล็กน้อย ค้างไว้ 5 วินาที จากนั้นสลับไปยกเข่าอีกข้างหนึ่ง ทำข้างละ 10 ครั้ง 

ท่าที่ 4 หมุนคอ เอียงคอไปด้านซ้าย หมุนคอทวนเข็มนาฬิกาช้าๆ  10 ครั้ง จากนั้นสลับหมุนคอตามเข็มนาฬิกาช้าๆ  อีก 10 ครั้ง 

ท่าที่ 5 หมุนไหล่ หมุนไหล่ทั้งสองข้างไปด้านหน้า 10 ครั้ง หมุนไหล่ทั้งสองข้างไปด้านหลัง 10 ครั้ง 

ท่าที่ 6 สะบัดมือ สะบัดมือและนิ้วทั้งสองข้าง ข้างละ 10 - 20 วินาที 

ท่าที่ 7 เหยียดแขน ยกมือขึ้นมาประสานนิ้ว เหยียดแขน เปิดฝ่ามือไปด้านหน้า ค้างไว้ 5 วินาที เหยียดแขนเปิดฝ่ามือไปด้านบน ค้างไว้ 5 วินาที ทำแบบนี้ซ้ำ 10 ครั้ง 

ท่าที่ 8 ลุกเดิน ไม่ควรอยู่กับที่นานเกินไป ควรหาลุกขยับตัว ยืดเส้น เดินไปหยิบของ เข้าห้องน้ำ หรือดื่มน้ำเรื่อยๆ  

ติดตามสาระน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพร่างกายเพิ่มเติมได้ที่>>> https://saruknaruu.blogspot.com/

โรคตับแข็ง คืออะไร และ อาการของโรคตับแข็ง

 

โรคตับแข็ง คืออะไร และ อาการของโรคตับแข็ง

เป็นโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง เช่น ไวรัสตับอักเสบบี และซี 

ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากและเป็นเวลานาน

  • เป็นโรคทางพันธุกรรม เช่น Wilson disease (ความผิดปกติของตับที่ไม่สามารถขับทองแดงออกจากร่างกายได้ทำให้มีการสะสมทองแดงมากเกินไป), Hemochromatosis (ภาวะธาตุเหล็กในร่างกายเกินซึ่งอาจจะเป็นจากโรคทางพันธุกรรมทำให้ไม่สามารถขับธาตุเหล็กออกจากร่างกายได้หรือเป็นจากการได้รับธาตุเหล็กเกินโดยเฉพาะในคนไทยที่มีโรคเลือดจางธาลัสซีเมียรุนแรงจนต้องได้รับผลิตภัณฑ์เลือดอยู่บ่อยๆ), cystic fibrosis, alpha one antitrypsin deficiency, glycogen storage disease
  • มีภาวะไขมันคั่งตับ มักพบในคนอ้วน หรือคนไข้เบาหวาน
  • เป็นโรคแพ้ภูมิตนเองที่เกิดกับตับ เช่น autoimmune hepatitis, primary biliary cholangitis, primary sclerosing cholangitis
  • เป็นโรคท่อทางเดินน้ำดีฝ่อตั้งแต่แรกเกิด (Biliary atresia)
  • ได้รับยาบางชนิด หรือสมุนไพรบางอย่างที่มีผลต่อตับ
  • มีภาวะหัวใจด้านขวาล้มเหลวเรื้อรัง
  • มีการอุดกั้นของหลอดเลือดดำทางออกของตับ
  • ไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งพบในถึง 1 ใน 4 ของผู้ป่วย

อาการของโรคตับแข็ง

โดยส่วนมากในช่วงแรกของการเกิดโรคแทบไม่พบอาการหรือมีแสดงอาการน้อยมากโดยอาการแสดงก็ไม่จำเพาะเจาะจง เช่น 

อ่อนเพลีย 

เบื่ออาหาร 

นอนไม่หลับ 

คันตามตัว  

ติดตามสาระน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่>>> https://saruknaruu.blogspot.com/

วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2564

สัญญาณอันตราย ไซนัสอักเสบ เกิดจากอะไร


สัญญาณอันตราย ไซนัสอักเสบ เกิดจากอะไร 

ไซนัส (Sinus) คือ โพรงอากาศที่อยู่ในกะโหลกศีรษะบนใบหน้ารอบๆ จมูก มีรูเปิดติดต่อกับช่องจมูก ภายในไซนัสมีเยื่อบุ ต่อเป็นผืนเดียวกันกับเยื่อบุภายในช่องจมูก ทำหน้าที่ปรับอากาศที่เราหายใจเข้าไป โดยผ่านบริเวณจมูก ช่วยถ่ายเทความร้อนและความชื้นจากหลอดเลือดบนผิวเยื่อบุให้เหมาะสมกับร่างกาย  ซึ่งไซนัสมี 4 คู่ ได้แก่

  •  บริเวณโหนกแก้ม 2 ข้าง  (maxillary sinus)
  •  ระหว่างลูกตา บริเวณหัวตา 2 ข้าง (ethmoid sinus)
  •  บริเวณหน้าผากใกล้กับหัวคิ้ว 2 ข้าง (frontal sinus)
  •  อยู่ในกะโหลกศีรษะ ใกล้ฐานสมอง (sphenoid sinus)

ไซนัสอักเสบ

พญ. อุบลรัตน์ ปิตาสวัสดิ์ แพทย์ผู้ชำนาญการสาขาโสต ศอ นาสิกวิทยา โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ สมิติเวช สุขุมวิท ระบุว่า เมื่อเป็นหวัด ไข้หวัดใหญ่ หรือภูมิแพ้ จะทำให้เยื่อบุภายในช่องจมูกเกิดการบวม ส่งผลให้โพรงไซนัสที่ติดต่อกับจมูกตีบตัน เกิดน้ำมูกคั่งภายในโพรงจมูก เป็นสภาวะเหมาะแก่การเติบโตของเชื้อโรค จนเยื่อบุอักเสบและเป็นหนอง เกิดภาวะไซนัสอักเสบขึ้นได้  

นอกจากนี้ภาวะติดเชื้อที่รากฟัน สามารถทำให้ไซนัสอักเสบได้เช่นกัน เนื่องจากกระดูกที่คั่นระหว่างรากฟันกับไซนัสบางมาก โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ซึ่งกระดูกจะบางลงตามอายุ

ไซนัสอักเสบ แบ่งเป็น 2 ชนิด

ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน (acute sinusitis) เกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อรา ทำให้เกิดการอักเสบ มีเสมหะมากขึ้น คัดจมูก รู้สึกไม่สบายที่แก้ม หน้าผาก หรือรอบดวงตา และปวดศีรษะ   ส่วนใหญ่สามารถรักษาหายภายใน  3 สัปดาห์ และเป็นน้อยกว่าปีละ 4 ครั้ง

ไซนัสอักเสบเรื้อรัง (chronic sinusitis) เป็นภาวะเรื้อรังนานกว่า 12 สัปดาห์ และเป็นมากกว่าปีละ 4 ครั้ง   

สัญญาณอันตราย อาการไซนัสอักเสบ

  • ปวดหน่วงๆ ตามบริเวณไซนัสอักเสบ เช่น หน้าผาก หัวตา โหนกแก้ม หรือรอบๆ ดวงตา  
  • ปวดศีรษะ  มักเป็นมากช่วงเช้าหรือบ่าย โดยเฉพาะเมื่อก้มศีรษะ หรือเปลี่ยนท่า
  • น้ำมูกเป็นหนองข้นสีเขียวหรือเหลือง เวลาสูดจมูกแรงๆ รู้สึกน้ำมูกไหลลงคอ  
  • คัดแน่นจมูก  หายใจมีกลิ่นเหม็นคาว
  • ปวดหู หูอื้อ  
  • เจ็บคอ
  • มีไข้
  • อ่อนเพลีย
ติดตามสาระน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่>>> https://saruknaruu.blogspot.com/

สาเหตุของการเกิดกรดไหลย้อน เกิดจากอะไร?

 

สาเหตุของการเกิดกรดไหลย้อน เกิดจากอะไร?

ความผิดปกติของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ซึ่งหูรูดของหลอดอาหารเริ่มเสื่อมสภาพ น้ำย่อยและอาหารในกระเพาะจึงไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหารทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก ซึ่งมักถูกกระตุ้นได้ง่ายจากการรับประทานยาบางชนิด ดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่

ความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหาร ส่งผลให้หลอดอาหารบีบตัวไล่น้ำย่อยที่ย้อนขึ้นมาได้น้อยลง ทำให้น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารค้างอยู่ในหลอดอาหารนานขึ้น

กระเพาะอาหารบีบตัวน้อยลง จนไม่สามารถนำอาหารที่ย่อยแล้วลงสู่ลำไส้ได้หมด อาหารจึงค้างอยู่ในกระเพาะอาหารเป็นเวลานาน เกิดแรงดันในกระเพาะอาหารจนไปดันให้หูรูดเปิดออก อาหารและน้ำย่อยจึงย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร

ปัจจัยกระตุ้นอื่นๆ

- บุหรี่ การสูบบุหรี่ส่งผลให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดออกมามากขึ้น รวมถึงกระเพาะอาหารบีบตัวน้อยลง จึงทำให้น้ำย่อยและอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหาร

- ความเครียดยังส่งผลให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดออกมามากเกินไป จนเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคกรดไหลย้อน

- การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มบางชนิด ส่งผลให้หูรูดหลอดอาหารคลายตัว โดยเฉพาะอาหารไขมันสูง คาเฟอีน แอลกอฮอล์ และเปปเปอร์มินต์

- การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีความเป็นกรดสูง เช่น ส้ม  มะนาว  รวมถึงอาหารรสจัด  ทำให้หูรูดเกิดการระคายเคืองได้

- การรับประทานยาบางชนิด อาจไปกระตุ้นให้เกิดภาวะกรดไหลย้อน โดยผลข้างเคียงของยาจะส่งผลแตกต่างกันในแต่ละบุคคล หากสงสัยควรปรึกษาแพทย์  ไม่ควรหยุดยาหรือซื้อยามารับประทานเอง

- ความอ้วน เนื่องจากคนอ้วนมีความดันในช่องท้องมากกว่าคนทั่วไป  ทำให้เกิดความดันในกระเพาะอาหารสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงโรคกรดไหลย้อนเพิ่มขึ้น

- การตั้งครรภ์ เมื่อครรภ์ใหญ่ขึ้นความดันในกระเพาะก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย คุณแม่ตั้งครรภ์จึงมีเสี่ยงต่อการเป็นกรดไหลย้อนมากขึ้น

ติดตามสาระน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่>>> https://saruknaruu.blogspot.com/

อาการตากระตุก คืออะไร สาเหตุที่ตากระตุก

อาการตากระตุก คืออะไร สาเหตุที่ตากระตุก

นพ. นนท์ รัตนิน จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โรงพยาบาลจักษุรัตนิน ระบุว่า อาการตากระตุก เกิดจากกระแสประสาทที่มาเลี้ยงบริเวณรอบดวงตามากผิดปกติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง  อาการตากระตุกมีความรุนแรงตั้งแต่ตากระตุกเล็กน้อย ไม่นานก็หายได้เอง ไปจนถึงตากระตุกจนตาปิด รวมไปถึงอาการตาเขม่น ที่เป็นอาการหนังตา หรือเปลือกตากระตุก เป็นได้ทั้งเปลือกตาบน และเปลือกตาล่าง

สาเหตุของอาการตากระตุก

พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล หรือ หมอผิง ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวพรรณและเวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ระบุสาเหตุของอาการตากระตุกเอาไว้ ดังนี้

  • นอนหลับไม่เป็นเวลา นอนหลับไม่เพียงพอ
  • มีความเครียดสะสมเป็นเวลานาน
  • ดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป
  • สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • เจอกับแสงสว่าง แสงจ้า ลม หรือมลพิษทางอากาศ
  • ตาล้า ตาแห้ง เกิดการระคายเคืองที่เปลือกตาด้านใน หรือโรคภูมิแพ้
  • ขาดวิตามิน แร่ธาตุ หรือสารอาหารบางชนิด
  • เป็นผลข้างเคียงจากยาบางชนิดที่กำลังใช้/กินอยู่
  • อาการตากระตุกที่ผิดปกติ ควรพบแพทย์

จากที่ระบุไว้ข้างต้นว่า อาการตากระตุกส่วนใหญ่ไม่อันตราย และสามารถหายไปได้เองเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง แต่หากมีบางรายที่มีอาการตากระตุกที่ผิดปกติ ควรพบแพทย์ เช่น

  • ตากระตุกติดต่อกันทุกวันเกิน 1 สัปดาห์ 
  • มีอาการกระตุกที่บริเวณอื่นด้วย เช่น มุมปาก 
  • ตากระตุกพร้อมกันทั้งสองข้าง
  • ตากระตุกแรงมากจนตาปิด รบกวนการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน
  • มีอาการผิดปกติที่ตาอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ตาบวม ตาแดง มีขี้ตามาก เป็นต้น

อาการตากระตุก สัญญาณอันตรายของโรค?

ปกติแล้วอาการตากระตุกไม่อันตราย และไม่ได้มีความสัมพันธ์กับโรคใดๆ โดยเฉพาะ แต่หากมีอาการตากระตุกบ่อยๆ รวมถึงมีความผิดปกติอื่นๆ นายแพทย์สมาน ตั้งอรุณศิลป์ ระบุว่า แพทย์อาจพิจารณาการผ่าตัดแยกเส้นเลือดออกจากเส้นประสาท ไม่ใช่วิธีรักษาให้หายขาด แต่เป็นการช่วยบรรเทาอาการตากระตุกให้น้อยลง หรือเบาลงได้

วิธีลดความเสี่ยงอาการตากระตุก

  1. เข้านอนให้ตรงเวลา นอนหลับพักผ่อนให้เพียง
  2. พยายามลดความเครียดด้วยการทำกิจกรรมที่ชอบ และหาเวลาพักผ่อนหย่อนใจ
  3. ลดปริมาณในการดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนลงครึ่งหนึ่ง
  4. ลด หรืองดสูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์
  5. หลีกเลี่ยงการให้ดวงตาเจอกับแสงสว่าง แสงจ้า ลม หรือมลพิษทางอากาศ
  6. พักสายตาระหว่างการทำงานระหว่างวัน รวมถึงใช้น้ำตาเทียมเป็นประจำ เพื่อป้องกันอาการตาแห้ง ซึ่งอาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่เปลือกตาด้านใน
  7. รักษาอาการโรคภูมิแพ้ให้ดีขึ้น
  8. รับประทานอาหารให้หลากหลาย ครบ 5 หมู่
  9. ปรึกษาแพทย์ถึงความน่าจะเป็นว่า ตัวยาที่กินอยู่เป็นประจำ มีผลข้างเคียงต่อร่างกาย รวมถึงอาการตากระตุกได้หรือไม่ เพื่อให้แพทย์พิจารณาเปลี่ยนยาที่เหมาะสมกว่าเดิม
  10. หากมีอาการตากระตุกที่ผิดปกติ เช่น ตากระตุกบ่อยเกินไปจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน หรือมีอาการตากระตุกร่วมกับอาการอื่นๆ ควรรีบปรึกษาเพื่อหาสาเหตุและเข้ารับการรักษาต่อไป
ติดตามสาระน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่>>> https://saruknaruu.blogspot.com/

วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2564

5 สัญญาณอันตรายของ ลำไส้ อาจเป็นสัณญาณเตือนสุขภาพ

5 สัญญาณอันตรายของ ลำไส้ อาจเป็นสัณญาณเตือนสุขภาพ

1.ปวดท้อง ท้องอืด เป็นๆ หายๆ

หากมีอาการปวดท้อง ท้องอืด และมีอาการแบบนี้อยู่เรื่อยๆ เป็นๆ หายๆ อาจจะนึกว่าตัวเองเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ แต่อันที่จริงแล้วอาจจะไม่ได้เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบเสมอไป อาการปวดท้อง ท้องอืด เป็นๆ หายๆ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่มาแสดงอาการที่ลำไส้ของเรา เช่น การรับประทานอาหารที่มีแป้ง น้ำตาล คาร์โบไฮเดรตสูงมากเกินไป อาหารที่มีการปรุงแต่งมากเกินไป ทำให้การย่อยอาหารผิดปกติ อาจทำให้เกิดอาการท้องอืดได้ เสี่ยงต่อภาวะกรดไหลย้อน ท้องอืดมากกว่าปกติ 

ดังนั้นการรับประทานอาหารที่เป็นคาร์โบไฮเดรตให้น้อยลง หรือเลือกคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต ปรุงแต่งอาหารน้อยๆ ก็จะช่วยลดอาการปวดท้อง ท้องอืด เป็นๆ หายๆ ได้บ้าง

2.น้ำหนักขึ้น-ลดลงมากผิดปกติ

น้ำหนักมากขึ้น หรือลดลงผิดปกติทั้งๆ ที่ไม่ได้กินมากหรือน้อยลงไปกว่าเดิม กิจวัตรประจำวันเหมือนเดิมทุกอย่าง อาจมีสาเหตุมาจากการพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม ในกรณีที่น้ำหนักมากขึ้นผิดปกติ อาจบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลสูงมากเกินไป การดูดซึมของลำไส้แย่ลง กินแล้วลำไส้ไม่ได้ดูดซึมสารอาหารดีๆ ไปใช้กับร่างกาย แต่ขับถ่ายออกหมด ทำให้เกิดภาวะหิวสารอาหาร และสารอาหารที่ร่างกายมักโหยหาในภาวะนี้คือคาร์โบไฮเดรต อาหารหวานๆ นั่นเอง

ในรายที่น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว อาจเกิดจากแบคทีเรียในลำไส้ผิดปกติ ทำให้การดูดซึมสารอาหารแย่ลงเช่นกัน ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารน้อยลงเรื่อยๆ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะขาดสารอาหารในระยะยาวได้ จนอาจเสี่ยงโลหิตจางได้เลยทีเดียว เพราะขาดธาตุเหล็กจากการดูดซึมที่ไม่ดี

3.มีปัญหาการนอน

ระบบลำไส้อาจทำให้ระบบการทำงานของฮอร์โมนบางชนิดในร่างกายผิดปกติได้ เช่น ฮอร์โมนซีโรโทนิน ที่ควบคุมเวลาในการนอนหลับของร่างกาย หากฮอร์โมนชนิดนี้มีความผิดปกติ มากไปหรือน้อยไป ก็ทำให้การนอนหลับของเรายากมากขึ้น นอนไม่ค่อยหลับ นอนหลับไม่สนิท เป็นต้น

4.เกิดภาวะทนทานอาหารไม่ได้

ภาวะทนทานอาหารไม่ได้ (Food Tolerance) หมายถึงภาวะที่เราไม่สามารถรับอาหารเข้าร่างกายได้ ร่างกายไม่สามารถย่อยอาหารชนิดนั้นได้ ไม่สามารถดูดซึมสารอาหารนั้นๆ เข้าไปใช้ในร่างกายได้ มีแก๊สจากการย่อยอาหารมาก ทำให้ท้องเสียเรื้อรัง ท้องอืด มวนท้อง แน่นท้อง ไม่สบายท้อง ปวดท้อง คลื่นไส้ โดยเกิดจากในลำไส้มีแบคทีเรียที่ไม่ดีต่อร่างกายมากเกินไป แบคทีเรียที่ดีต่อร่างกายมีน้อยเกินไป ทำให้ลำไส้ไม่สามารถย่อยอาหารที่เรากินเข้าไปได้ ไม่ว่าอาหารเหล่านั้นจะดีและมีประโยชน์มากแค่ไหนก็ตาม

สามารถแก้ปัญหาได้โดยการ พยายามรับประทานอาหารที่มีพรีไบโอติกจากธรรมชาติ เช่น โยเกิร์ต กิมจิ คีเฟอร์ ถั่วหมัก ซึ่งจะช่วยเพิ่มโปรไบโอติก หรือแบคทีเรียที่ดีต่อร่างกายให้กับลำไส้

5.ผิวหนังอักเสบ

เมื่อลำไส้อยู่ในภาวะอักเสบ ลำไส้จะเกิดรูเล็กๆ ที่เรามองไม่เห็น ทำให้สารอาหาร หรือโปรตีนที่เรากินเข้าไปรั่วออกมา โปรตีนที่รั่วออกมาจะไปทำปฎิกิริยากับผิวหนัง จนทำให้เกิดอาการแพ้ได้ อาจทำให้เกิดผดผื่นแดง ดังนั้นใครที่ผื่นผิวหนังบ่อยๆ อาจต้องดูด้วยว่ามีปัญหาลำไส้ร่วมด้วยหรือเปล่า

ติดตามสาระน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่>>> https://saruknaruu.blogspot.com/

วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2564

โรคเส้นเลือดสมองโป่งพอง อาการเป็นอย่างไร

โรคเส้นเลือดสมองโป่งพอง อาการเป็นอย่างไร

โรคเส้นเลือดสมองโป่งพอง (Cerebral Aneurysm) คือ ความผิดปกติที่เกิดจากการบางลงของผนังหลอดเลือดสมอง ทำให้ผนังเส้นเลือดสมองโป่งพองออกคล้ายบอลลูนและแตกออกง่าย

รศ. นพ.รุ่งศักดิ์ ศิวานุวัฒน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่า โรคนี้มักเกิดขึ้นกับเส้นเลือดบริเวณฐานกะโหลกศีรษะ พบได้บ่อยในช่วงอายุ 30-60 ปี ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค ได้แก่ โรคทางพันธุกรรมบางชนิด ประวัติโรคเส้นเลือดสมองโป่งพองในครอบครัวโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษา การสูบบุหรี่ และอายุที่มากขึ้น

ประเภทของเส้นเลือดสมองโป่งพอง

เส้นเลือดสมองโป่งพองแบบยังไม่แตก

อาการ

  • ส่วนมากมักจะไม่มีอาการ ยกเว้นกรณีที่หลอดเลือดสมองโป่งพองมีขนาดใหญ่ อาจเกิดการกดทับเส้นประสาทข้างเคียง เช่น มีอาการปวดร้าวบริเวณใบหน้าหนังตาตก หรือมองเห็นภาพซ้อน
  • หลอดเลือดสมองโป่งพองที่มีขนาดใหญ่ อาจทำให้เลือดไหลวนอยู่กายใน เกิดลิ่มเลือดขึ้นและหลุดไปอุดตันหลอดเลือดสมองส่วนปลาย ส่งผลให้เกิดอาการสมองขาดเลือด

เส้นเลือดสมองโป่งพองแบบแตกแล้ว

อาการ

  • ทำให้เกิดภาวะเลือดออกใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมอง และความดันในกะโหลกสูงขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน โดยเฉพาะบริเวณต้นคอ ก้มคอไม่ได้
  • ส่วนใหญ่มีอาการคลื่นใส้ อาเจียน บางรายอาจชักหมดสติ ไม่รู้สึกตัว หรือเสียชีวิตได้ จึงจำเป็นต้องรับการรักษาโดยเร็ว
  • การป้องกันเส้นเลือดสมองโป่งพอง
  • รักษาภาวะความดันโลหิตสูง
  • งดสูบบุหรี่
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัดหรือมีไขมันสูง
  • และเน้นรับประทานผัก ผลไม้
ติดตามสาระน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่>>> https://saruknaruu.blogspot.com/

สาเหตุของอาการขี้ลืมที่พร้อมวิธีแก้ไข

สาเหตุของอาการขี้ลืมที่พร้อมวิธีแก้ไข

1.พักผ่อนไม่เพียงพอพาขี้หลงขี้ลืม

หากพักผ่อนไม่เพียงพอติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน หรือนอนน้อยกว่า 7-8 ชั่วโมง จะทำให้สมองทำงานหนักต่อเนื่องจนเกิดความเหนื่อยล้าส่งผลให้เราไม่มีสมาธิ หงุดหงิดง่าย รวมถึงเกิดอาการขี้ลืมได้ หากเกิดจากการนอนไม่หลับต่อเนื่องหลายวันอาจต้องเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจ และรับคำปรึกษาปัญหาด้านการนอนหลับ

2.ร่างกายเหนื่อยเกินไป

แม้ว่าจะนอนครบ 8 ชั่วโมงแล้วแต่ก็ยังหลงๆลืมๆอยู่ อาจเป็นเพราะว่าเหนื่อยเกินไป ส่งผลต่อความจำและสมองทำให้ขี้ลืมนั่นเอง

3.ทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน

คนเราอาจทำได้หลายอย่างพร้อมกันก็จริงแต่จริงๆแล้วสมองเราจดจ่ออะไรได้แค่อย่างเดียว การทำหลายอย่างพร้อมกันอาจจะทำให้เราเบลอได้และตามมาด้วยการลืมว่าเราจะทำอะไรเพราะเราสนใจสิ่งๆนั้นอย่างเต็ม100นั่นเอง

4.ดื่มเหล้าเบียร์หรือแอลกอฮอล์มากไป

การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก หรือดื่มทุกวันจะส่งผลกระทบต่อสมองในส่วนของฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับความทรงจำ การทำงานของสมองในส่วนนี้จะลดลงทำให้เกิดอาการหลงลืมในระยะเวลาที่ดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้บางคนจำไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในช่วงเวลานั้น

5.สภาวะความเครียดสมองทำงานหนัก

ไม่ใช่เพียงแค่ความเครียดเท่านั้น ความรู้สึกด้านลบที่ส่งผลต่อความรู้สึก เช่น ความกังวล หรืออารมณ์เศร้า เป็นสาเหตุที่ส่งผลต่อความทรงจำเช่นกัน เนื่องจากเมื่อเราตกอยู่ในสภาวะเหล่านี้จะทำให้สมองหลั่งสารสื่อประสาทมากกว่าปกติ มีผลให้เกิดปัญหาด้านความจำ นอกจากนี้ยังเสี่ยงอาการนอนไม่หลับอีกด้วย

6.โรคซึมเศร้า

อาการขี้หลงขี้ลืมอาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เนื่องจากไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าได้ รวมทั้งความปกติของสารเคมีในสมองที่มีผลต่อความจำและความคิดได้เช่นกัน

7.โรคประจำตัว

เช่น ไทรอยด์,ความดันโลหิตสูง,ตับและไต,เบาหวาน, โรคเหล่านี้มีผลต่อการส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง ไขมันในเลือดที่สูงจะส่งผลให้สมองทำงานผิดปกติ และสามารถส่งผลต่อความทรงจำ นอกจากนี้การรักษาโรคด้วยยาบางชนิดยังมีผลข้างเคียงกับการทำงานของสมอง

8.การกินยาบางชนิด

ยาในกลุ่มแอนตี้โคลิเนอร์จิก (Anticholinergic) ยากลุ่มนี้จะเข้าไปขัดการทำงานของสารสื่อประสาทด้านความจำ สามารถพบได้ในยารักษายาระงับประสาท,ยาลดไขมันในเลือด,โรคภูมิแพ้,โรคประสาท,โรคฉี่ไม่สะดวก,โรคหัวใจและโรคความดันโลหิต เป็นต้น

9.การเปลี่ยนแปลงของร่างกายยากจะหลีกเลี่ยง

เป็นสาเหตุที่ยากจะหลีกเลี่ยงโดยเฉพาะอายุที่มากขึ้นในวัยตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ความจำอาจมีปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ ถึงแม้จะป้องกันได้ยาก แต่การดูแลตนเองให้เหมาะสมตามช่วงวัยจะสามารถช่วยรักษาสภาพของร่างกายให้เสื่อมช้าที่สุดได้ เช่น การทานอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกาย และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

          หากเกิดอาการหลงลืมบ่อยครั้งมากขึ้น หรือเป็นเรื้อรัง นั่นอาจเป็นสัญญาณของโรคทางสมอง เช่น โรคอัลไซเมอร์ เพื่อป้องกันโรคดังกล่าวเราควรดูแลตนเองให้มากขึ้น และเข้าพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาเมื่อเกิดปัญหาด้านความจำบ่อยครั้ง จริงอยู่ที่อาการขี้ลืมนี้ เป็นเรื่องธรรมดาที่ใครๆก็เป็นได้ แต่ถ้าขี้ลืมบ่อยๆจนกระทั่งเสียงานเสียการ คงต้องหาทางแก้ไขโดยด่วนก่อนที่จะติดเป็นนิสัยที่แก้ยาก วันนี้เรามีเทคนิคแก้นิสัยขี้ลืมมาฝากทุกคนให้ลองนำไปใช้ดูครับ

วิธีแก้อาการขี้ลืม

1.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

หากพักผ่อนไม่เพียงพอติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน หรือนอนน้อยกว่า 7-8 ชั่วโมง จะทำให้สมองทำงานหนักต่อเนื่องจนเกิดความเหนื่อยล้าส่งผลให้เราไม่มีสมาธิ หงุดหงิดง่าย รวมถึงเกิดอาการขี้ลืมได้ หากเกิดจากการนอนไม่หลับต่อเนื่องหลายวันอาจต้องเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจ และรับคำปรึกษาปัญหาด้านการนอนหลับ

2.จดบันทึก

เป็นวิธีเบสิคที่ใครๆก็คงนึกถึงเป็นอันดับแรกใช่ไหมครับ การจดบันทึกลงสมุดนั้นช่วยให้ชีวิตของคุณง่ายขึ้น เพราะการจดจะช่วยย้ำให้สมองจำเรื่องราวต่างๆที่คุณบันทึกลงไป ไม่ว่าจะเป็นการจดบันทึกเรื่องเล็กๆน้อยๆ การจดบันทึกแผนการที่ต้องทำในแต่ละวันแต่ละสัปดาห์หรือในเดือนถัดไปเป็นต้น การมีสมุดบันทึกเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนขี้ลืมนะครับ คุณควรจดในมือถือหรือพกสมุดเล็กๆติดตัวไว้ เพื่อช่วยเตือนสิ่งที่คุณจะต้องทำในแต่ละวัน ซึ่งการฝึกจดบันทึกให้เป็นนิสัยก็จะช่วยแก้นิสัยขี้ลืมของคุณได้มากเลย

3.แปะกระดาษโน้ต (Post-it)

ใช้กระดาษโน้ตแปะเพื่อเตือนสิ่งที่เราอาจจะลืมได้ และควรแปะในจุดสำคัญเช่น หน้าประตูห้อง/บ้าน,หน้าห้องน้ำ,หน้ารถ เป็นต้น คุณเคยเห็นคนทำงานออฟฟิศที่เขาจะแปะโน้ตไว้ตามจอคอมพิวเตอร์หรือขอบโต๊ะใช่ไหมครับ หรือถ้าคุณอยู่ติดบ้านซะส่วนใหญ่ประตูตู้เย็นก็คงเหมือนกระดานดำที่มีพื้นที่ให้คุณแปะนู่นแปะนี่ตามใจชอบ การแปะกระดาษโน้ตไว้ในที่ที่คุณมองเห็นง่ายๆหรือเดินผ่านประจำ จะช่วยเตือนสมองของคุณให้จดจำเรื่องที่คุณจะต้องทำได้แม่นยำขึ้น

4.จัดระเบียบสิ่งของภายในบ้าน

การเก็บข้าวของเครื่องใช้ให้เป็นที่ เป็นหมวดหมู่ สามารถทำให้เราแยกแยะความคิดได้รวดเร็วเวลาที่ต้องนึกว่าของสิ่งนี้อยู่ตรงไหน เช่น กุญแจบ้านจะแขวนอยู่ข้างประตู หรือยาประจำตัววางอยู่บนหัวเตียง อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆเก็บอยู่ในห้องเก็บของเป็นต้น การจัดระเบียบการเก็บของแบบนี้จะทำให้คุณไม่ลืมว่าเก็บอะไรไว้ตรงไหนบ้าง

5.ทานอาหารหรือวิตามินที่ช่วยบำรุงสมอง

นอกจากอาหารหลัก 5 หมู่ที่คุณต้องทานเป็นประจำทุกวันแล้ว วิตามินหรืออาหารเสริมก็อาจจะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนที่มีอาการขี้หลงขี้ลืม โดยอาหารที่ช่วยเพิ่มความจำได้แก่ ใบแปะก๊วย ผักโขม หรือวิตามินจำพวกน้ำมันตับปลา เป็นต้น นอกจากนี้การพักผ่อนอย่างเพียงพอก็ส่งผลเรื่องความจำ เพราะเมื่อสมองปลอดโปร่งแจ่มใสก็จะมีความจำที่ดีนั่นเอง

6.จัดลำดับความคิด

การจัดลำดับความคิดความสำคัญ ก็เหมือนการประมวลผลภายในสมองของคุณ เหมือนการจัดชั้นหนังสือ เมื่อคุณมีการแยกเรื่องต่างๆ ออกเป็นหัวข้อๆ ก็ต้องมีรายละเอียดมีแผนผัง จึงจะทำให้คุณเห็นภาพรวมของสิ่งที่คุณจะต้องทำและจัดลำดับความสำคัญได้ง่ายขึ้น ซึ่งการประมวลความคิดเป็นขั้นเป็นตอน จะทำให้คุณจำได้ง่ายขึ้น และไม่ลืมว่าจะทำอะไร เทคนิคนี้แนะนำให้ เราเขียนลำดับที่เราจะทำออกมา อันไหนทำก่อนทำหลัง อันไหนสำคัญ มีรายละเอียดแต่ละลำดับ มีกำหนดการเวลา

7.ทำทีละอย่าง

การจำแค่สิ่งเดียวสำหรับบางคนก็ยังลืม คงไม่ต้องพูดถึงการจำอะไรหลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน เช่น การขับรถพร้อมกับคุยโทรศัพท์ไปด้วย พอรู้ตัวอีกทีก็ขับไปทางไหนแล้วก็ไม่รู้ นั่นก็เพราะว่าคุณไม่มีสมาธิทำให้ความสามารถในการจดจำสิ่งต่างๆลดลงไปด้วย ฉะนั้นคุณควรจะทำทีละอย่าง เพื่อโฟกัสและจดจำกับสิ่งที่กำลังทำให้ดียิ่งขึ้น

8.บริหารสมอง

นอกเหนือจากกิจวัตรประจำวันที่คุณต้องทำทุกวันแล้ว คุณควรแบ่งเวลามาทำกิจกรรมที่แตกต่างบ้าง เช่น ออกกำลังกาย เล่นดนตรี ร้องเพลง เพื่อบริหารสมองของคุณให้มีความตื่นตัวเพิ่มความคิดที่รวดเร็วฉับไวขึ้น ซึ่งส่งผลให้มีอาการหลงลืมน้อยลง

9.ลดการดื่มแอลกอฮอล์

การดื่มเป็นประจำหรือดื่มจนติดนั้นส่งผลต่อสมองโดยตรง ทำให้เกิดความจำเสื่อมขี้หลงขี้ลืม นอกจากนี้ยังส่งผลให้คนที่ดื่มสูญเสียการทรงตัว เดินไม่ตรงทาง มีการเปลี่ยนแปลงทางบุคลิกภาพ ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง มีผลต่อระบบทางเดินอาหารและตับ,ระบบเม็ดเลือด,อัตราการเกิดมะเร็งในอวัยวะต่างๆ ระบบขับถ่ายและอวัยวะสืบพันธุ์ นอกจากปัญหาสุขภาพส่วนบุคคลแล้ว ยังอาจเกิดอุบัติเหตุที่เกิดจากการมึนเมาอีกด้วย เพราะฉะนั้น ควรดื่มแต่พอดี ชั่งใจถึงผลได้ผลเสียไว้ด้วย หากเป็นไม่ได้การไม่ดื่มเลยจะเป็นการดีที่สุด

10.พูดกับตัวเองบ่อยๆ

การพูดกับตัวเองไม่ได้แปลว่าคุณเพี้ยนหรือสติไม่ดีนะ แต่การพูดกับตัวเองโดยไล่เรียงว่าวันนี้จะทำอะไร ไปไหนบ้าง ก่อนที่จะเริ่มต้นทำกิจกรรม ก็เป็นเหมือนการเตือนสติและย้ำกับตัวเองให้จำในสิ่งที่ต้องทำ  ซึ่งจะทำให้เราจำได้นั่นเอง

11.ทำอะไรให้ช้าลง

หากคุณเป็นคนคิดเร็ว ทำเร็ว พูดเร็ว จะทำให้คุณจดจำรายละเอียดต่างๆได้น้อยลง แต่ถ้าหากคุณทำให้ช้าลงหน่อย ค่อยๆคิด ค่อยๆทำ และใส่ใจในรายละเอียดของแต่ละสิ่งที่ทำมากขึ้น สมองของคุณก็จะจดจำเรื่องราวต่างๆได้มากขึ้น อาการขี้หลงขี้ลืมก็จะดีขึ้นด้วย

เพื่อนๆลองนำเทคนิคพวกนี้ไปปรับใช้ดู น่าจะช่วยเรื่องความจำได้ไม่มากก็น้อย แต่หากวิธีที่ผมนำมาเสนอยังไม่ได้ผลและเกิดอาการหลงลืมบ่อยครั้งมากขึ้น หรือเป็นเรื้อรัง นั่นอาจเป็นสัญญาณของโรคทางสมอง เช่น โรคอัลไซเมอร์ เพื่อป้องกันโรคดังกล่าวเราควรดูแลตนเองให้มากขึ้น และ เข้าพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาเมื่อเกิดปัญหาด้านความจำ เพื่อไม่ให้อาการเหล่านี้กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

ติดตามสาระน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่>>> https://saruknaruu.blogspot.com/

วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2564

การลดน้ำหนักด้วการอดอาหารเช้าอาจส่งผลไม่ดีต่อสุขภาพได้

การลดน้ำหนักด้วการอดอาหารเช้าอาจส่งผลไม่ดีต่อสุขภาพได้

น้ำหนักลดลง

มีความเชื่อผิดๆ ที่บอกว่า การอดอาหารเช้าจะทำให้อ้วน เพราะจะไปกินเยอะขึ้นในมื้อเย็นแทน แต่จริงๆ แล้ว เมื่อเรางดมื้อเช้า จะเป็นเหมือนการยืดเวลาในการทำ IF ให้ยาวมากขึ้น อย่างน้อย 12-16 ชั่วโมง ในช่วงนี้ร่างกายจะดึงพลังงานจากไขมันมาเผาผลาญ ระบบเผาผลาญจะทำงานเป็นระบบไฮบริด เผาผลาญน้ำตาลเสร็จ ก็จะเผาผลาญพลังงานจากไขมันต่อ ทำให้ผอมลงได้นั่นเอง ระดับอินซูลินจะต่ำลง ไม่เปลี่ยนแปลงขึ้นลงมากจนเกินไป ไม่ค่อยหิว ทำให้น้ำหนักลดลงได้

ไม่หิวบ่อย

การบริโภคน้ำตาลบ่อยๆ จะทำให้รู้สึกเหมือนติดยาเสพติด มีความอยากกินของหวานๆ อยู่เรื่อยๆ เมื่องดมื้อเช้าที่เต็มไปด้วยแป้งและน้ำตาลราว 2 สัปดาห์ เราจะเริ่ม “ไม่อยากน้ำตาล” เพราะฮอร์โมนเกรลิน (ฮอร์โมนความหิว) จะหลั่งลดลงมากๆ

สมองตื่นตัว ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาจมีคนเชื่อว่า การงดอาหารเช้าทำให้ไม่มีแรงทำงาน สมองไม่สดชื่น หรือไม่มีแรงคิด ซึ่งจริงๆ แล้วการงดอาหารเช้า ทำให้สมองจะเฉียบคม ตื่นตัว เพราะร่างกายจะเผาผลาญไขมันที่ตับ จนเกิดเป็น “สารคีโตน” ซึ่งเป็นพลังงานบริสุทธิ์ไปเลี้ยงสมองตลอดเวลา โดยพลังงานนี้จะไม่มีสิ่งตกค้างใดๆ ในร่างกาย ไม่เหมือนกับการเผาผลาญน้ำตาล ที่เป็นเหมือนกับการเผาผลาญถ่านหิน โดยมีสิ่งตกค้างหลงเหลืออยู่ คือโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ

ดังนั้นการอดอาหารที่เหมือนกับการทำ IF ในช่วงมื้อเช้า จะทำให้สมองมีพลังงานจากการเผาผลาญไขมันไปเลี้ยงตลอดเวลา ทำให้สมองตื่นตัวอยู่ตลอดนั่นเอง นอกจากนี้ยังช่วยลดภาวะอัลไซเมอร์ได้อีกด้วย

ลดเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันสูง ไขมันสูง

การงดการรับประทานอาหารเช้าที่มีแต่แป้งและน้ำตาล จะช่วยลดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่รวมถึงลดความเสี่ยงโรคอ้วน เบาหวาน ความดันสูง และไขมันสูงได้ เพราะทำให้ระดับของอินซูลินในร่างกายอยู่ในระดับที่เหมาะสมอยู่ตลอดนั่นเอง

สรุป การกินอาหารเช้ายังสามารถทำได้อยู่หากเป็นการเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ เน้นครบ 5 หมู่ ไม่ควรเลือกกินอาหารเช้าสำเร็จรูปที่มีแต่แป้งและน้ำตาลในปริมาณสูง นอกจากนี้อย่าลืมหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอด้วย

ติดตามสาระน่ารู้เกี่ยวกับสุลขภาพเพิ่มเติมได้ที่>>> https://saruknaruu.blogspot.com/

ซินโดรม คืออะไร? ขาวออฟิศ หรือคนที่ทำงานหน้าคอมควรรู้

ซินโดรม คืออะไร? ขาวออฟิศ หรือคนที่ทำงานหน้าคอมควรรู้

คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม คืออะไร?

อ. นพ.สุภณัฐ อภิญญาวสีสุข โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่า ภาวะคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม หรือ CVS (Computer Vision Syndrome) คือ กลุ่มอาการทางตาที่เกิดจากการใช้สายตากับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน โดยเฉพาะการทำงานแบบ Work From Home ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ส่งผลให้ใช้สายตาจ้องอุปกรณ์ต่างๆ เช่น หน้าจอคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟนตลอดวัน โดยภาวะ CVS มักเกิดกับผู้ที่ใช้อุปกรณ์เหล่านี้ต่อเนื่องมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน

อาการของคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม

  • ปวดเมื่อยตา
  • ตาพร่ามัว โฟกัสได้ช้าลง
  • ปวดบริเวณกระบอกตา ปวดศีรษะ หลัง ไหล่ หรือปวดต้นคอร่วมด้วย
  • ตาแห้ง ตาล้า แสบตา เคืองตา
  • ตาไม่สู้แสง

คำแนะนำจากแพทย์

  • กะพริบตาให้บ่อยขึ้น ชดเชยการนั่งจ้องหน้าจออุปกรณ์เป็นเวลานาน
  • ปรับความสว่างในห้องทำงาน และหน้าอุปกรณ์ที่ใช้งานให้เหมาะสม
  • พักสายตาทุกๆ ชั่วโมง ตามหลัก 20 : 20 : 20 คือ การพักสายตาจากหน้าจอ และมองออกไปไกลระยะ 20 ฟุต ทุกๆ 20 นาที เป็นเวลา 20วินาทีต่อครั้ง
  • ปรับระดับการมองจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม โดยจุดศูนย์กลางของจอคอมพิวเตอร์ควรห่างจากตาประมาณ 20-28 นิ้ว
  • สวมแว่นสายตาที่เหมาะสม เนื่องจากค่าสายตาที่ผิดปกติ ทำให้ต้องเพ่งหน้าจอเป็นเวลานาน อาจทำให้ปวดกระบอกตาได้

ควรจัดตารางการทำงาน และกิจวัตรประจำวันให้สมดุล หากรู้สึกว่าดวงตามีอาการผิดปกติปวดศีรษะ ปวดตา ตาแห้ง เคืองตา ตามัว ควรปรึกษาจักษุแพทย์

ติดตามสาระน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่>>> https://saruknaruu.blogspot.com/

วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2564

น้ำหนักตัวปกติ แต่มีพุง ต้องระวัง อาจเป็นโรคหัวใจได้

 

น้ำหนักตัวปกติ แต่มีพุง ต้องระวัง อาจเป็นโรคหัวใจได้

แม้ว่าน้ำหนักของเราจะอยู่ในช่วงน้ำหนักปกติ ไม่ได้อยู่ในขั้นที่เรียกว่าอ้วนหรือเสี่ยงอ้วน แต่ไขมันส่วนเกินที่หน้าท้อง หรือที่เราเรียกกันว่า “พุง” อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจให้เราได้

จากบทความโดยสมาคมโรคหัวใจอเมริกัน (American Heart Association) ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2564 ระบุว่า ไขมันในช่องท้อง (VAT) ที่อยู่ลึกลงไปข้างในท้องโอบล้อมอวัยวะหลายๆ ส่วนด้านในร่างกายอยู่ (ไม่ใช่แค่ชั้นไขมันที่อยู่ตรงพุงให้เราจิ้มเด้งๆ ได้เล่นๆ) ไขมันในช่องท้องไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากภายนอก แต่มีอันตรายต่อร่างกายมาก เพราะสามารถเพิ่มความเสี่ยงอาการอักเสบต่างๆ ทำลายสุขภาพหลอดเลือดให้แย่ลง และยังเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย

มี “พุง” แค่ไหน ถึงเสี่ยงโรคหัวใจ

วัดความสูง และขนาดรอบเอวมาเทียบกัน เพื่อประเมินค่าไขมันในช่องท้อง โดยวัดรอบเอวเหนือสะดือเทียบกับส่วนสูง (หน่วยเดียวกัน) ขนาดของเอวไม่ควรมากกว่า ⅓ ของความสูงตัวเอง

วิธีลดพุงง่ายๆ

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า การออกกำลังกายขั้นพื้นฐานสามารถลดพุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยออกกำลังกายทั่วไปเป็นเวลา 150 นาทีต่อสัปดาห์ ด้วยความหนักในการออกกำลังกายปานกลาง เช่น เดินเร็ว ว่ายน้ำ วิ่งจ๊อกกิ้ง หรือการออกกำลังกายแบบใช้พลังงานหนัก เวทเทรนนิ่งปานกลาง เพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อ ลดไขมันส่วนเกินของร่างกาย

ติดตามสาระน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่>>> https://saruknaruu.blogspot.com/

5 ประเภทของสี น้ำมูก ที่สามารถบอกโรคเราได้

5 ประเภทของสี น้ำมูก ที่สามารถบอกโรคเราได้

ลักษณะของน้ำมูก ที่บอกปัญหาสุขภาพของเรา

1.น้ำมูกสีใส

อาจเป็นหวัด ภูมิแพ้ ฝุ่นละออง ติดเชื้อไวรัส ไม่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะ

2.น้ำมูกสีขาว หรือ เทา

ส่วนใหญ่เป็นเพราะภูมิแพ้จมูก การอักเสบติดเชื้อจากเชื้อไวรัส

3.น้ำมูกสีเหลือง หรือ เขียว 

อาจเกิดจากการติดเชื้อจากไวรัส หรือ แบคทีเรีย หรือ ไซนัสอักเสบ

4.น้ำมูกสีแดง 

อาจเกิดจากเส้นเลือดฝอยบริเวณนั้นแตก ทำให้มีเลือดปน อาจเป็นเพราะโรคภูมิแพ้

5.น้ำมูกสีดำ 

คำแนะนำ หากดำหรือขุ่นแบบมีฝุ่นผงอาจเป็นเพราะมลพิษ แต่หากดำสนิทให้ระวังการติดเชื้อรา

น้ำมูกเป็นกลไกอย่างหนึ่งในการกำจัดสิ่งแปลกปลอม หากน้ำมูกมีสีผิดปกติ ส่วนใหญ่เป็นเพราะการติดเชื้อไวรัสซึ่งไม่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะ กรณีมีเลือดปนมากควรมาพบแพทย์

ติดตามสาระเกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติม>>> https://saruknaruu.blogspot.com/

วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2564

สัญญานอันตราย วัย 40+ เสี่ยงเป็นโรคความจำเสื่อม

 

สัญญานอันตราย วัย 40+ เสี่ยงเป็นโรคความจำเสื่อม

สาเหตุของกลุ่มโรคสมองเสื่อมที่มีการถดถอยรวดเร็วและรุนแรง

กลุ่มโรคสมองเสื่อมที่มีการถดถอยรวดเร็วและรุนแรง เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น 

  • ติดเชื้อในสมอง เช่น เคยมีการติดเชื้อจากการกินเนื้อวัวที่เป็นโรควัวบ้าที่เคยระบาดในยุโรปโดยเฉพาะอังกฤษ จากสัตว์สู่คนและคนสู่คนได้ 
  • สมองอักเสบจากภูมิคุ้มกันทำงานไวผิดปกติ 
  • โปรตีนและสารเคมีในสมองเสื่อมถอย
  • ได้รับสารพิษ 
  • ขาดสารอาหารรุนแรง 
  • เป็นโรคเส้นเลือดสมองตีบหรือแตก และเนื้องอกสมอง
  • เป็นโรคพันธุกรรมในครอบครัว
  • สาเหตุเหล่านี้ถ้าได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จะช่วยชะลอความเสื่อมถอยด้านความจำ หรือความจำกลับมาสู่ภาวะปกติเท่ากับก่อนป่วยได้
  • อันตรายจากกลุ่มโรคสมองเสื่อมที่มีการถดถอยรวดเร็วและรุนแรง

อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ป่วยอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถรักษาได้ ส่งผลทุพพลภาพ ในระยะเวลาอันสั้น คือโรคซีเจดี ซึ่งเกิดจากการทำงานผิดปกติของโปรตีนในสมองที่เรียกว่า พรีออน (Prion) เป็นโปรตีนลักษณะพิเศษที่ทำให้โปรตีนอื่น กลายสภาพเป็นโปรตีนพรีออนผิดปกติที่เพิ่มมากขึ้นเองได้ เมื่อเข้าสู่สมองคน ในระยะเวลารวดเร็วไม่กี่เดือนเซลล์ประสาทจะตาย ทำให้ความสามารถของสมองถดถอยไม่สามารถฟื้นกลับสู่ภาวะปกติได้อีก

สัญญาณอันตราย สมองเสื่อมรุนแรงอย่างรวดเร็ว

นายแพทย์ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคซีเจดีพบได้ในทุกเพศ ช่วงอายุที่พบบ่อยประมาณ 55-75 ปี มีภาวะเสื่อมถอยด้านความคิดความจำในระยะเวลาที่รวดเร็วและรุนแรงไม่กี่เดือน โดยญาติและผู้ใกล้ชิดควรสังเกตผู้ป่วยว่ามีอาการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแบบรวดเร็ว ดังนี้

  • ความจำแย่ลง
  • ทำงานผิดพลาด 
  • เห็นภาพหลอน 
  • เอะอะโวยวาย 
  • เฉยเมย 
  • พูดและการเคลื่อนไหวช้าลง 

ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการกระตุกตามแขนขาและลำตัวแบบไม่รู้สาเหตุ 

ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ กระทั่งนอนติดเตียง และเสียชีวิตภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน หรือ 1 ปี 

วิธีรักษาอาการสมองเสื่อมรุนแรงอย่างรวดเร็ว

ด้านการรักษาแพทย์จะส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น 

ส่งตรวจ MRI 

ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง 

ตรวจเลือดหรือน้ำไขสันหลังเพื่อตรวจสารเคมีในสมอง 

อาจพิจารณาให้การรักษาด้วยยาเพื่อควบคุมอาการพฤติกรรมวุ่นวายและลดอาการเคลื่อนไหวผิดปกติ เป็นต้น 

สาระน่าเกี่ยวกับ:คนสูงอายุและโรคความจำเสื่อม

ตากระตุก เกิดจากอะไร เป็นสัญญาณอาจเป็นสัณญาอันตรายของโรค



ตากระตุก เกิดจากอะไร เป็นสัญญาณอาจเป็นสัณญาอันตรายของโรค

อาการตากระตุก คืออะไร

นพ. นนท์ รัตนิน จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โรงพยาบาลจักษุรัตนิน ระบุว่า อาการตากระตุก เกิดจากกระแสประสาทที่มาเลี้ยงบริเวณรอบดวงตามากผิดปกติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง  

อาการตากระตุกมีความรุนแรงตั้งแต่ตากระตุกเล็กน้อย ไม่นานก็หายได้เอง ไปจนถึงตากระตุกจนตาปิด รวมไปถึงอาการตาเขม่น ที่เป็นอาการหนังตา หรือเปลือกตากระตุก เป็นได้ทั้งเปลือกตาบน และเปลือกตาล่าง

สาเหตุของอาการตากระตุก

พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล หรือ หมอผิง ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวพรรณและเวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ระบุสาเหตุของอาการตากระตุกเอาไว้ ดังนี้

  • นอนหลับไม่เป็นเวลา นอนหลับไม่เพียงพอ
  • มีความเครียดสะสมเป็นเวลานาน
  • ดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป
  • สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • เจอกับแสงสว่าง แสงจ้า ลม หรือมลพิษทางอากาศ
  • ตาล้า ตาแห้ง เกิดการระคายเคืองที่เปลือกตาด้านใน หรือโรคภูมิแพ้
  • ขาดวิตามิน แร่ธาตุ หรือสารอาหารบางชนิด
  • เป็นผลข้างเคียงจากยาบางชนิดที่กำลังใช้/กินอยู่
  • อาการตากระตุกที่ผิดปกติ ควรพบแพทย์

จากที่ระบุไว้ข้างต้นว่า อาการตากระตุกส่วนใหญ่ไม่อันตราย และสามารถหายไปได้เองเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง แต่หากมีบางรายที่มีอาการตากระตุกที่ผิดปกติ ควรพบแพทย์ เช่น

ตากระตุกติดต่อกันทุกวันเกิน 1 สัปดาห์ 

มีอาการกระตุกที่บริเวณอื่นด้วย เช่น มุมปาก 

ตากระตุกพร้อมกันทั้งสองข้าง

ตากระตุกแรงมากจนตาปิด รบกวนการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน

มีอาการผิดปกติที่ตาอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ตาบวม ตาแดง มีขี้ตามาก เป็นต้น

สาระน่ารู้เกี่ยวกับ: ตากระตุก

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2564

4 สาเหตุเสมหะหลังตื่นนอนเสี่ยงเป็นโรค

4 สาเหตุเสมหะหลังตื่นนอนเสี่ยงเป็นโรค

1.การระคายเคืองในลำคอ

พฤติกรรมขณะนอนหลับบางอย่างอาจทำให้อากาศเข้าสู่ลำคอ ส่งผลให้ลำคอแห้งและเย็น ร่างกายจึงส่งความชุ่มขึ้นเป็นเสมหะออกมา ทำให้มีเสมหะในลำคอตอนตื่นนอน

2.โรคไซนัสอักเสบ

ผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบมักมีน้ำมูกไหลลงคอและกลายเป็นเสมหะที่มักมีสีเขียวหรือเหลือง

3.โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้และไม่ใช่ภูมิแพ้

ผู้ป่วยภูมิแพ้มักมีอาการคัดจมูก คันจมูก จาม และน้ำมูก บางคนมีอาการไอโดยเฉพาะเมื่อพบสิ่งระคายเคืองหรืออากาศเปลี่ยน เมื่อน้ำมูกไหลลงคอจะทำให้มีเสมหะขาวใสในคอ

4.โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

มีการอักเสบของเยื่อบุหลอดลม มูกในหลอดลมจะถูกขับออกมา ผู้ป่วยจึงมีเสมหะในลำคอ โดยเฉพาะตอนนอนหลับที่ร่างกายขับเสมหะได้ไม่ดี ทำให้ตอนตื่นนอนพบว่ามีเสมหะเหนียวข้นอยู่ในลำคอ

คำแนะนำจากแพทย์ เมื่อมีเสมหะหลังตื่นนอน

หากมีเสมหะหลังตื่นนอน ควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อละลายเสมหะ แต่ถ้ายังมีเสมหะมากนานหลายวัน ควรพบแพทย์หู คอ จมูก เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

สาระน่ารู้เกี่ยวกับ:สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเสมหะหลังตื่นนอน

สาเหตุทีทำให้เกิดตะคริวขณะนอนหลับ

สาเหตุทีทำให้เกิดตะคริวขณะนอนหลับ

1.นอนผิดท่า

หากนอนในท่าเหยียดขาตรง มีลักษณะของเท้าที่ไม่ถูกต้องในขณะนอน ข้อเท้างองุ้มและปลายเท้าชี้ลงพื้น คล้ายกับท่ายืนด้วยปลายเท้า อาจทำให้กล้ามเนื้อน่องหดเกร็ง เสี่ยงต่อการเป็นตะคริวได้ง่าย

2.เคลื่อนไหวร่างกายน้อยและไม่ยืดกล้ามเนื้อ

การนั่งหรือยืนอยู่ในท่าเดิมนานๆ หรือไม่พยายามขยับ ยืดกล้ามเนื้อก่อนการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน อาจส่งผลให้เกิดตะคริวที่ขาขณะนอนหลับได้

3.กล้ามเนื้อทำงานหนักเกินไป

เกิดจากการออกกำลังกาย การทำงานหรือกิจกรรมอย่างหนักที่ต้องใช้แรงขามากอาจเป็นปัจจัยนำไปสู่การหดเกร็งของกล้ามเนื้อและอาการตะคริวขณะนอนหลับ

4.เส้นเอ็นหดตัว

เส้นเอ็นเป็นเนื้อเยื่อที่ช่วยเชื่อมกล้ามเนื้อกับกระดูกไว้ด้วยกัน หากเส้นเอ็นหดตัวสั้นลงเกินไป อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อเป็นตะคริวได้

คำแนะนำจากแพทย์

อาการตะคริวสามารถบรรเทาได้ด้วยการยึดกล้ามเนื้อน่อง โดยเหยียดขาให้ตรงแล้วจึงค่อยๆ กระดกข้อเท้าขึ้นให้ปลายนิ้วเท้าเข้าหาตัว อาจใช้วิธีประคบร้อนบริเวณที่เป็นตะคริวด้วยกระเป๋าน้ำร้อนหรือผ้าชุบน้ำร้อน เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยง

สาระน่ารู้เกี่ยวกับ:ตะคริวขณะนอนหลับ

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2564

มะเร็งช่องปาก เกิดจากอะไร และวิธีรักษาเบื้องต้น

มะเร็งช่องปาก เกิดจากอะไร และวิธีรักษาเบื้องต้น

พท.นพ.รุตติ ชุมทอง ศัลยแพทย์ด้านศีรษะและลำคอ โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ กล่าวว่า มะเร็งช่องปาก คือ ก้อนเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นได้กับอวัยวะภายในช่องปากหลายๆ อวัยวะ เช่น ริมฝีปาก ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม เพดานปาก และพื้นปากใต้ลิ้น ถือเป็นมะเร็งที่มีความรุนแรงและอันตรายหากมาตรวจพบในระยะลุกลาม

ปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสการเกิดมะเร็งช่องปาก คือ

  • การสูบบุหรี่ ซิการ์ หรือไปป์จะเพิ่มความเสี่ยงการพบมะเร็งช่องปากได้ถึง 6 เท่า
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ และหากยิ่งมีพฤติกรรมทั้งสูบบุหรี่และดื่มสุราก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากถึง 15 เท่า
  • การเคี้ยวหมาก พลู เพราะอาจมีสารก่อมะเร็งเจือปนอยู่
  • การติดเชื้อไวรัสเอชพีวีในช่องปาก
  • การเกิดบาดแผลเรื้อรังในช่องปากจากฟันผุ ฟันบิ่น หรือฟันปลอมที่หลวม ระคายเคืองซ้ำๆ จนเนื้อเยื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงกลายเป็นมะเร็ง
  • มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งในช่องปาก

อาการของมะเร็งช่องปาก

ผู้ป่วยอาจมาด้วยอาการมีตุ่ม ก้อนเนื้อ หรือรอยแผลที่รักษาไม่หายนานเกินกว่า 2-3 สัปดาห์ อาจพบว่ามีเลือดออกจากรอยแผลนั้น หรือมีอาการชาจากการลุกลามเพราะมะเร็งไปทำลายเส้นประสาท หรือการกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง จนสามารถคลำเป็นก้อนได้ที่ลำคอ การสังเกตมะเร็งช่องปากอาจตรวจพบเพียงรอยปื้นแดงหรือขาวบนเยื่อบุช่องปากโดยไม่มีอาการเจ็บปวด ดังนั้นการมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติในช่องปากจะช่วยให้สามารถวินิจฉัยได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม

วิธีรักษาโรคมะเร็งช่องปาก

แพทย์จะให้การรักษาด้วยการผ่าตัด หรือการฉายรังสี หรืออาจใช้ทั้งสองวิธีร่วมกัน ขึ้นอยู่กับระยะของโรค ขนาด ตำแหน่ง ชนิดของมะเร็ง และสุขภาพของผู้ป่วย นอกจากนี้อาจทำเคมีบำบัดในคนไข้บางราย หากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกเริ่มหรือตั้งแต่เป็นรอยโรคก่อนเป็นมะเร็ง (Precancerous Lesion) และได้รับการรักษา มีโอกาสหายขาดและมีอัตราการรอดชีวิตที่สูงมากกว่าการตรวจพบในระยะลุกลาม

นอกจากนี้ โรคมะเร็งช่องปากระยะลุกลามอาจมีผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะในช่องปาก เช่น ปากผิดรูป ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดปัญหาในการพูด การกลืน ซึ่งจำเป็นต้องใช้การผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมการทำงาน และทำกายภาพบำบัดเพื่อคืนการทำงานของอวัยวะในช่องปากร่วมด้วย

วิธีป้องกันโรคมะเร็งช่องปาก

  • ลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ ดื่มสุราเป็นประจำลง
  • หมั่นดูแลรักษาสุขภาพช่องปากให้แข็งแรง
  • เลือกรับประทานอาหารและผักผลไม้ที่มีประโยชน์ให้สมดุล
  • สิ่งสำคัญคือ ควรพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน เพื่อตรวจค้นหาความเสี่ยงและเฝ้าระวังโรคมะเร็งในช่องปากไปพร้อมๆ กัน
สาระน่ารู้เกี่ยวกับ: มะเร็งช่องปาก

ฟันคุด เกิดจากอะไร หลัง ผ่าฟันคุด แล้วควรทำอน่างไร

ฟันคุด เกิดจากอะไร หลัง ผ่าฟันคุด แล้วควรทำอน่างไร

ฟันคุด คืออะไร

สำหรับทันตแพทย์ ฟันคุด หมายถึงฟันซี่ใดก็ตามที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติ อาจจะมีกระดูก เหงือกมาปิดขวาง หรือเอียงไปชนฟันข้างเคียง โดยฟันคุดมักจะพบที่ตำแหน่งฟันกรามซี่ในสุด หรือบางครั้งเกิดบริเวณตำแหน่งของฟันเขี้ยว บางคนปล่อยทิ้งไว้นานๆ สร้างอาการปวด และสร้างความรำคาญใจอยู่ตลอดเวลา หากไม่ตัดสินใจผ่าฟันคุดออก อาจเกิดปัญหาและเป็นอันตรายได้

ช่วงอายุ 15-20 ปี เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการตรวจประเมินร่วมกับการเอกซเรย์ ว่ามีฟันกรามซี่สุดท้ายพัฒนาขึ้นในขากรรไกรหรือไม่ และมีแนวโน้มจะเป็นฟันคุดหรือไม่

ปัญหาและอันตรายที่เกิดจากฟันคุด

  • มีกลิ่นปากและทำให้ฟันซี่อื่นผุ
  • ฟันคุดที่ขึ้นมาในลักษณะเอียง จะทำให้มีเศษอาหารที่ติดระหว่างฟันคุดและฟันข้างเคียง ไม่สามารถทำความสะอาดได้ทั่วถึง เกิดเป็นกลิ่นปาก รวมทั้ง ฟันผุ คือการผุบริเวณซอกฟันข้างเคียงได้

  • เหงือกอักเสบ
  • เมื่อฟันคุดงอกขึ้นมาในช่องปากเพียงบางส่วน เหงือกที่ปกคลุมฟันมักมีเศษอาหารไปติดใต้เหงือก ทำความสะอาดได้ยาก จนมีการอักเสบบวมแดง และติดเชื้อ ซึ่งจะทำให้เหงือกบริเวณนั้นเกิดเป็นหนอง จนเกิดการปวด หากการติดเชื้อลุกลามไปมากขึ้น อาจทำให้เจ็บคอกลืนน้ำลายไม่ได้  มีไข้ อ้าปากได้น้อยลง หรือหายใจลำบาก เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

  • ทำให้ฟันเรียงเก
  • ขณะที่ฟันคุดกำลังขึ้นจะมีแรงดันต่ออวัยวะรอบๆ รวมทั้งฟันข้างเคียง ทำให้เกิดการเคลื่อนของฟันข้างเคียงหรือเกิดการเรียงตัวที่ซ้อนกันได้

  • เกิดถุงน้ำหรือเนื้องอกรอบๆ ฟันคุด
  • ถุงหุ้มรอบฟันคุดหรือเนื้อเยื่อสร้างฟันอื่นๆ อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นถุงน้ำหรือเนื้องอกในขากรรไกรได้  มีผลทำให้ฟันเคลื่อนที่ผิดตำแหน่งเดิม กระดูกรอบๆ เกิดการกร่อนละลาย  เป็นอันตรายกับเหงือกและฟันใกล้เคียง จนถึงอาจขยายขนาดใหญ่จนใบหน้าผิดรูป มีปัญหาการสบฟันตามมาได้

เมื่อไรที่ควรผ่าฟันคุดออก

ฟันคุดเป็นฟันที่มีเนื้อเยื่อและหรือกระดูกปิดขวางอยู่ ทันตแพทย์จึงไม่สามารถถอนฟันได้ตามปกติ จำเป็นต้องผ่าเหงือก ตัดกระดูก ตัดฟันออกทีละนิด เพื่อนำฟันคุดออก โดยไม่ส่งผลหรือเป็นอันตรายต่อฟันซี่ข้างเคียง หรือส่วนอื่นที่อยู่บริเวณนั้นๆ การผ่าตัดฟันคุดอาจใช้เวลานานกว่าถอนฟันตามปกติ ขึ้นกับลักษณะและตำแหน่งของฟันคุด รวมทั้งอายุของผู้ป่วย 

การผ่าฟันคุดในช่วงที่ฟันกำลังมีการสร้างรากฟันเสร็จแล้วประมาณครึ่งรากหรือมากกว่านั้น แต่ยังสร้างรากไม่เสร็จสมบูรณ์ มักจะเป็นช่วงที่ผ่าได้ง่ายที่สุดของฟันกรามล่างที่สาม โดยช่วงอายุการเจริญของฟันขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละคน โดยมากจะเป็นช่วงอายุ 15-20 ปี ทันตแพทย์จึงแนะนำให้มีการตรวจประเมิน วางแผนการรักษาฟันคุด แม้ฟันอาจจะยังไม่ขึ้นมาในช่องปาก ในช่วงอายุดังกล่าว

หลังผ่าตัดฟันคุด ควรทำอย่างไร

เมื่อทันตแพทย์ผ่าฟันคุดเสร็จ จะให้กัดผ้าก๊อชไว้แน่นประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อห้ามเลือด ไม่แนะนำให้อมน้ำแข็ง แต่ให้ทำการประคบเย็น เอาน้ำแข็งใส่ถุงพลาสติกและห่อผ้ามาประคบแก้มด้านนอกบริเวณที่ผ่าฟันคุด ในช่วง 1-2 วันหลังจากผ่าฟันคุด หลังจากนั้นให้ประคบอุ่น และทำตามคำแนะนำของทันตแพทย์ เช่น แปรงฟันตามปกติแต่ไม่แปรงฟันแรงๆ ตรงบริเวณที่ผ่า  รับประทานอาหารอ่อนๆ  รับประทานยาแก้ปวดและยาอื่นตามที่ทันตแพทย์สั่ง  และกลับมาติดตามอาการหรือตัดไหมตามนัด

(ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอ้าปากได้น้อยหลังผ่าฟันคุด ให้ค่อยๆ ฝึกการอ้าปากได้ภายหลังจากเลือดหยุดดีแล้ว  หากการอ้าปากได้น้อยเป็นอยู่นานกว่า 1 สัปดาห์  ทันตแพทย์จะแนะนำท่าทางในการบริหารขากรรไกรให้ผู้ป่วย)

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าฟันคุด

การติดเชื้อหลังผ่าตัด สังเกตได้จากการปวดบวมมากขึ้น หลังผ่าประมาณ 3-5 วัน หรือมีหนองเกิดขึ้น สาเหตุที่เกิดการติดเชื้อหลังผ่าฟันคุดอาจเกิดจาก ฟันคุดอยู่ลึกใช้เวลาผ่าตัดนาน หรือดูแลรักษาความสะอาดแผลผ่าตัดได้ไม่ดีพอ

แพ้ยา สังเกตได้จากอาการปากบวม ตาบวม มีผื่นขึ้น หรือหายใจลำบากหลังจากได้รับยา ให้รีบหยุดยาและพบทันตแพทย์ทันที

เลือดออกเยอะหรือนานกว่าปกติ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดมักเกิดจากการกัดผ้าที่ห้ามเลือดได้ไม่ดีพอ หรือการออกแรงบ้วนเลือดที่ออกมา ทั้งนี้อาจมีสาเหตุอื่นๆ ได้อีกหลายสาเหตุ  เบื้องต้นแนะนำให้ใช้ผ้าก๊อซสะอาดพับให้หนาพอสมควร วางบริเวณแผลผ่าตัดแล้วออกแรงกัดนิ่งๆ อย่างน้อย 30 นาที กลืนน้ำลาย ไม่ออกแรงบ้วน  หากไม่สามารถหยุดเลือดได้ หรือมีเลือดออกปริมาณมาก ควรไปพบทันตแพทย์

ชาริมฝีปากและคาง การชาที่เป็นอยู่นานกว่าฤทธิ์ยาชา (3-4 ชั่วโมง) อาจเกิดจากการที่ส่วนของฟันคุดอยู่ใกล้เส้นประสาทรับความรู้สึกในขากรรไกรล่าง  ทันตแพทย์สามารถประเมินความเสี่ยงในการชาเบื้องต้นได้จากภาพเอกซเรย์ และปรึกษาผลดีผลเสียกับผู้ป่วยก่อนผ่าฟันคุดได้  หากเกิดการชาภายหลังการผ่าตัดแนะนำให้พบทันตแพทย์ผู้ผ่าตัด เพื่อให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวต่อไป

สาระน่ารู้เกี่ยวกับ ฟันคุด

หาก โควิด-19 ลงปอด อาการจะเป็นอย่างไร

 

หาก โควิด-19 ลงปอด อาการจะเป็นอย่างไร

นายแพทย์เอนก กนกศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติม ปอดในร่างกายมีหน้าที่สำคัญในการแลกเปลี่ยนของออกซิเจนในเลือด ถ้าผู้ป่วยโควิด-19 พบว่าเชื้อลงสู่ปอดจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการดังนี้

  • หอบเหนื่อย หายใจไม่อิ่ม 
  • เจ็บแน่นหน้าอก 
  • ระดับออกซิเจนในเลือดลดลง 
  • หากระดับออกซิเจนในเลือดลดลงมากเกินไป เช่น ออกซิเจนที่ไปเลี้ยงในส่วนของสมองน้อยลง จะทำให้เกิดภาวะซึม รู้สึกอ่อนเพลีย 
  • โดยในเกณฑ์ปกติระดับออกซิเจนในเลือดของร่างกายจะอยู่ที่ระดับ 97-100% (เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว)

วิธีทดสองง่ายๆ ว่าเชื้อโควิด-19 อาจจะลงปอดแล้ว

หากต้องการเช็คอาการว่าโควิด-19 ลงปอดหรือยัง ลองให้ผู้ป่วยออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเดินไวในระยะเวลา 6 นาที เพราะการเดินไว 6 นาที พอเพียงที่จะแสดงความผิดปกติ ของการแลกเปลี่ยนออกซิเจน ซึ่งเมื่อเกิดความผิดปกติในถุงลมในปอด (Alveoli) จะทำให้มีการแลกเปลี่ยนของออกซิเจนลดลง ดังนั้นหากมีโรคเกี่ยวกับปอดหรือเชื้อลงปอด จะทำให้ระดับออกซิเจนในเลือดลดน้อยลงกว่าระดับปกติ

วิธีรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่เชื้อลงปอด

สำหรับแนวทางการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 แพทย์จะดำเนินการรักษาตามอาการ และในผู้ที่มีอาการรุนแรงเชื้อลงปอด ผู้ป่วยจะได้รับการรักษา ดังนี้

  • ให้กินยาต้านไวรัส ซึ่งยาต้านไวรัสจะเข้าไปฆ่าเชื้อไวรัส หยุดยั้งไม่ให้เชื้อไวรัสแบ่งตัวเพิ่มเติมและทำลายเซลล์อื่นๆ 
  • แพทย์อาจจะจ่ายยาต้านการอักเสบเพื่อลดกระบวนการอักเสบในร่างกายร่วมกับการให้ยารักษาตามอาการควบคู่กันไป 
  • ในกรณีผู้ป่วยโควิด-19 มีอาการรุนแรง มีปอดอักเสบร่วมด้วยและปอดอักเสบมีปัญหาทั้ง 2 ข้าง แพทย์จะให้ผู้ป่วยนอนคว่ำ เพราะการนอนคว่ำจะสามารถช่วยให้ปอดขยายได้ดีขึ้น การนอนคว่ำจะมีผลทำให้ปอดไม่มีตัวเบียดดัน ปริมาณเนื้อปอดจะมีโอกาสแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ดีขึ้น เมื่อผู้ป่วยโควิด-19 รักษาตัวจนหายดีแล้วปอดจะกลับมาเป็นเหมือนคนปกติ 
  • นอกจากนี้การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สามารถช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ลดความรุนแรงของโรค ช่วยให้อาการป่วยเบาลง สามารถหายป่วยและกลับมาใช้ชีวิตปกติได้เร็วขึ้นมากกว่าผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีน 

  • สิ่งสำคัญที่สุดในการดูแลตนเองในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 คือ เราทุกคนต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการติดเชื้อ ด้วยการใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา แม้กระทั่งอยู่บ้านร่วมกับคนในครอบครัว หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์อย่างสม่ำเสมอ เว้นระยะห่าง หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่แออัด เลี่ยงการสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ที่มีความเสี่ยงสูง และทำให้ร่างกายตนเองแข็งแรง มีภูมิคุ้มกันที่ดี ด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เพราะถ้าทุกคนได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 จะเกิดการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ลดอัตราการติดเชื้อ ลดความรุนแรงของโรคโควิด-19 ได้อีกด้วย
สาระน่ารู้เกี่ยวกับวิธีป้องกันโควิค

5 วิธีดีต่อสุขภาพสำหรับลดน้ำหนักที่ควรบอกต่อ

5 วิธีดีต่อสุขภาพสำหรับลดน้ำหนักที่ควรบอกต่อ

1.ดื่มน้ำ 1 แก้ว หลังตื่นนอน ในเวลา 06.00 – 07.00 น. เพื่อช่วยลดภาวะขาดน้ำจากการนอนหลับ อีกทั้งช่วยลดความข้นหนืดของเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี และกระตุ้นการขับถ่ายได้อีกด้วย

2.ดื่มน้ำ 1 แก้ว ช่วงเช้า ในเวลา 08.00 – 09.00 น. โดยดื่มน้ำก่อนมื้อเช้า 15-20 นาที แล้วค่อยกินมื้อเช้าเพราะถ้ากินอาหารตามทันที น้ำที่ไปเจือจางน้ำย่อย จะส่งผลให้การย่อยอาหารไม่ดี และหลังอาหารให้จิบน้ำเพียงครึ่งแก้วพอ

3.ดื่มน้ำ 2 – 3 แก้ว ในช่วงเวลาระหว่างวัน เวลา 09.00 – 13.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาทำงาน ให้ดื่มน้ำระหว่างวันไปเรื่อย ๆ เพื่อลดการสูญเสียน้ำในระหว่างวัน นอกจากนี้ น้ำยังช่วยขับของเสียออกจากร่างกายอีกด้วย 

4.ดื่มน้ำ 2 แก้ว ช่วงบ่ายและเย็น เวลา 13.00 – 17.00 น. พยายามดื่มน้ำเปล่าในปริมาณ 2-3 แก้ว จะช่วยแก้กระหาย และทำให้ผิวพรรณชุ่มชื้น

5.ดื่มน้ำ 2 – 3 แก้ว ช่วงเย็นและก่อนนอน เวลา 18.00 – 22.00 น การดื่มน้ำช่วงเย็น ให้ดื่มก่อนและหลังกินมื้อเย็น และแบ่งบางส่วนไปดื่มช่วงก่อนนอน เพื่อช่วยชะล้างสิ่งตกค้างในลำไส้ และป้องกันร่างกายขาดน้ำขณะนอนหลับ

สาระน่ารู้เกี่ยวกับ:สุขภาพ

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2564

สาเหตุของโรค เมลิออยด์ วิธีรักษาและป้องกัน

สาเหตุของโรค เมลิออยด์ วิธีรักษาและป้องกัน

โรคเมลิออยด์ คืออะไร

นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยเกี่ยวกับโรคที่เกิดในช่วงฤดูฝนว่าโรคที่กรมควบคุมโรคให้ความสำคัญและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง คือโรคเมลิออยด์หรือที่ชาวบ้าน เรียกว่าโรคไข้ดิน เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โดยเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุจะอยู่ในดินและในน้ำ เข้าสู่ร่างกายคนเราได้ 3 ทาง คือ

ทางบาดแผลที่ผิวหนัง

ดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป

สูดหายใจเอาฝุ่นจากดินที่มีเชื้อเจือปนอยู่เข้าไป หลังติดเชื้อประมาณ 1-21 วันจะมีอาการเจ็บป่วย แต่บางรายอาจนานเป็นปีขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อที่ได้รับและภูมิต้านทานของแต่ละคน

อาการของโรคเมลิออยด์

มีไข้สูง

มีฝีที่ผิวหนัง

มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ

บางรายพบอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย

อาจติดเชื้อเฉพาะที่หรือติดเชื้อ แล้วแพร่กระจายทั่วทุกอวัยวะก็ได้

ส่วนใหญ่มักจะเริ่มจากอาการไข้เป็นหลัก จึงทำให้วินิจฉัยโรคได้ยาก ต้องอาศัยการตรวจเพาะเชื้อทางห้องปฏิบัติการเป็นหลัก เพื่อใช้ประกอบการตรวจวินิจฉัยและรักษา

กลุ่มเสี่ยงโรคเมลิออยด์

ประชาชนที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโรคนี้ มี 5 กลุ่ม ได้แก่

ผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกร ซึ่งต้องสัมผัสกับดินและน้ำโดยตรงหรือสัมผัสสัตว์เลี้ยงที่มีเชื้อโรคนี้อยู่ในร่างกาย เช่น แมว สุนัข หมู ม้า วัว ควาย แกะ หรือแพะ เป็นต้น

ผู้ที่มีบาดแผลที่เท้า

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง

คนสูบบุหรี่จัดหรือติดเหล้า 

นายแพทย์โอภาส กล่าวต่อว่า จากการเฝ้าระวังสถานการณ์ในปีนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-18 ส.ค. 64 พบผู้ป่วยโรคเมลิออยด์ จำนวน 1,426 ราย เสียชีวิต 1 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุและวัยทำงาน พบมากที่สุด คืออายุ 55-64 ปี รองลงมา คือ 45-54 ปี และกลุ่มอายุมากกว่า 65 ปี ตามลำดับ พบในกลุ่มอาชีพเกษตรกรมากที่สุด พื้นที่ที่พบผู้ป่วยมากอันดับ 1 ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมา คือภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ตามลำดับ คาดว่าในช่วงฤดูฝนนี้จะมีโอกาสพบผู้ป่วยโรคเมลิออยด์เพิ่มขึ้น

วิธีรักษาโรคเมลิออยด์

ขณะนี้โรคเมลิออยด์มียาปฏิชีวนะรักษาหายขาด สามารถรักษาในโรงพยาบาลทั่วประเทศ ซึ่งผู้ป่วยต้องกินให้ครบชุด ใช้เวลาประมาณ 20 สัปดาห์ ทางด้านแพทย์หญิงวรยา เหลืองอ่อน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กล่าวว่า โรคเมลิออยด์ ไม่มีวัคซีนป้องกัน สามารถป่วยซ้ำได้อีก

วิธีป้องกันโรคเมลิออยด์ สามารถทำได้ ดังนี้

ผู้ที่มีบาดแผลให้หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำย่ำโคลนหรือสัมผัสดินและน้ำโดยตรง หากจำเป็นขอให้สวมรองเท้าบูท ถุงมือยาง กางเกงขายาวหรือชุดลุยน้ำ และรีบทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำสะอาดและสบู่

หากมีบาดแผลที่ผิวหนัง ควรรีบทำความสะอาดด้วยยาฆ่าเชื้อและหลีกเลี่ยงการสัมผัสดินและน้ำจนกว่าแผลจะแห้งสนิท

รับประทานอาหารปรุงสุก ดื่มน้ำต้มสุกทุกครั้ง

หลีกเลี่ยงการสัมผัส  ลมฝุ่นและการอยู่ท่ามกลางสายฝน

ลดละเลิกการดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่ ซึ่งจะทำให้สุขภาพดีขึ้นและมีภูมิต้านทานโรคดีขึ้น 

สาระน่ารู้เกี่ยวกับ:โรคเมลิออยด์

การดูและอาการ ข้อเท้าแพลง เพื้องต้น

 

การปฏิบัติตน

  • ใช้ความเย็นประคบส่วนที่เจ็บ หรือส่วนที่บวม เพื่อลดความเจ็บปวดและจะช่วยทำให้เลือดออกน้อยลง ระยะ 24 - 48 ชั่วโมงแรก ควรประคบถุงเย็นประมาณ 15 นาที ทุก 2 ชั่วโมง ใน 48 ชั่วโมงแรกหลังได้รับบาดเจ็บ
  • ช้ผ้าพันส่วนที่บวมเพื่อลดการบวม จำกัดการเคลื่อนไหว เพื่อพักบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บนั้น   
  • ให้ยกปลายเท้าให้สูงขึ้น เพื่อลดความเจ็บปวดและลดอาการบวม ยกเท้าให้สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น เช่น เวลานั่งควรยกเท้าพาดเก้าอี้ ไม่ควรนั่งห้อยเท้านานๆ เวลานอนก็ใช้หมอนรองขา
  • ในรายที่มีอาการรุนแรงควรส่งพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยเพิ่มเติม บางรายอาจต้องใสเฝือก หรือผ่าตัด
  • การบริหารกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อเท้า

เคลื่อนไหว 6 ทิศทาง กระดกขึ้น - ลง บิดเท้าเข้า บิดเท้าออก หมุนเท้าวนเข้า และ หมุนเท้าวน ออก หรือ อาจใช้วิธีบริหารโดยเคลื่อนไหว ปลายเท้า เหมือนกับการเขียนตัวหนังสือขนาดใหญ่ๆ ก็ได้

บริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรง โดย เกร็งกล้ามเนื้อค้างไว้ประมาณ 5 - 10 วินาที ใน 4 ทิศทาง คือ กระดกขึ้น - ลง บิดเท้าเข้าด้านใน และบิดเท้าออกด้านนอก

การบริหารประสาทรับความรู้สึกของข้อเท้า

   ยืน หรือ นั่ง แล้วให้ลงน้ำหนักเล็กน้อยบนเท้าข้างที่บาดเจ็บ โดยเน้นลงน้ำหนักตามส่วนต่างๆ ของเท้า คือ ส้นเท้า ปลายเท้า ด้านในเท้า ด้านนอกเท้า ทำสลับกัน ประมาณ 10 รอบ

สาระน่ารู้เกี่ยวกับ:อาการ ข้อเท้าแพลง

รักษามะเร็งด้วยหลัก “ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง”


รักษามะเร็งด้วยหลัก “ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง” 

จิตวิญญาณ การมีความสุขที่เกิดจากความเข้าใจความเป็นจริงของชีวิต ความเชื่อต่างๆ หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ที่ส่งผลต่อสุขภาพกายและจิตใจ

จิตปัญญา การเปิดกว้างด้านความคิด และประสบการณ์ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ และเสริมสร้างศักยภาพให้กับตัวเองในด้านต่างๆ  

สังคม ความสามารถในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคม พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุข ภายใต้เกณฑ์ของสังคม

สุขภาพจิต การสร้างสภาวะของจิตใจที่มีความสดชื่น แจ่มใส สามารถควบคุมอารมณ์ให้มั่นคงเป็นปกติ สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้ดี สามารถเผชิญกับปัญหา และพร้อมรับมือได้ โดยปราศจากความขัดแย้งหรือความสับสนภายในจิตใจ

สุขภาพกาย การดูแลให้ร่างกายแข็งแรง พร้อมภาวะของร่างกายที่ระบบต่างๆ สามารถทำงานได้เป็นปกติ ความคู่กับกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ อาทิ นอนหลับอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารมีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น 

  • ทั้งนี้ “กายต้องตรงจุด ใจต้องดูแล” เป็นแนวคิดหลักของโรงพยาบาลชีวามิตรา ในการดูแลผู้ป่วย โดยคำนึงเสมอว่าการรักษาโรคมะเร็งควรให้ความสำคัญต่อ "สภาพจิตใจ" หนึ่งในสุขภาพองค์รวม ด้วยความพร้อมจากภายใน นำไปสู่การวางแผนแนวทางการรักษาร่วมกันระหว่างทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ป่วย และญาติผู้ป่วย โดยพิจารณาบริบทแวดล้อมของผู้ป่วยแบบรอบด้าน ทั้งในเชิงสิ่งแวดล้อม สภาพที่อยู่อาศัย ที่ทำงาน สถานะด้านสังคม เพศ เชื้อชาติ ศาสนา อายุ อาชีพ สถานภาพที่เกิดจากการเป็นสมาชิกในครอบครัว และสถานะทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงความคิดเห็นของคนในครอบครัวและบุคคลใกล้ชิด เพื่อหาความต้องการที่แท้จริงของผู้ป่วยมาประกอบการวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเฉพาะบุคคล โดยมีการประชุมครอบครัว (Family Meeting) 30 นาที-1 ชม. ทุกสัปดาห์ เพื่อประเมินการรักษาและปรับแนวทางการรักษาตามความเหมาะสม การประชุมทีมแพทย์ (Tumor Conference) เพื่อประเมินการรักษาเชิงรุก
  • จากข้อดีของการรักษามะเร็งด้วยแนวคิด "ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง" นำไปสู่ประสิทธิผลที่ผู้ป่วยจะได้รับอย่างสูงสุด ทั้งนี้ ปัจจัยดังกล่าวช่วยให้ทีมแพทย์เข้าใจสภาพจริงของผู้ป่วย ส่งผลให้การวินิจฉัยทั้งโรค (Disease) และความเจ็บป่วย (Illness) ไปได้ด้วยกัน (Explore both disease and illness) และให้การดูแลรักษาผู้ป่วยเฉพาะราย พร้อมหาแนวทางร่วมกันในการตรวจ วินิจฉัย รักษา รวมถึงการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน เปิดโอกาสให้ทั้งแพทย์และผู้ป่วยมีบทบาทร่วมกันในการดูแลสุขภาพ โดยประยุกต์ทฤษฎีทางการแพทย์ให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ของผู้ป่วย 

พร้อมกันนี้ยังมีแนวทางป้องกันภาวะแทรกซ้อนและผลข้างเคียงจากการรักษา เมื่อทีมแพทย์เกิดความเข้าใจในผู้ป่วยแล้วจะทำให้สามารถเยียวยา รักษา ฟื้นฟู รวมทั้งหาโอกาสสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพื่อการวางแผนการดูแลรักษาสุขภาพในระยะยาวได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์และผู้ป่วย หากสัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วย ครอบครัวและแพทย์เป็นไปด้วยดี จะนำไปสู่ผลสำเร็จในการรักษาพยาบาล ส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการรักษา โดยตั้งอยู่พื้นฐานของความเป็นจริง ร่วมค้นหาหนทางการดูแลรักษาที่เหมาะสมกับบริบทของผู้ป่วยร่วมกันอย่างมีความสุขได้ แม้ต้องสู้กับโรคร้าย

แนวทางการรักษาโรคในปัจจุบันให้ความสำคัญกับการดูแล “คน” ไปพร้อมกับ“โรค” ด้วยการมองผู้ป่วยทุกมิติทุกด้านที่มีผลกระทบต่อการเจ็บป่วย ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ สังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี เศรษฐกิจสังคม สิ่งแวดล้อม บุคคล ครอบครัวและชุมชน เพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์และประสิทธิผลของการรักษาโรค

สาระน่ารู้